คอนโด, บ้านจัดสรร, บ้านโครงการ,คอนโดมิเนียม,บ้านเดี่ยว, บ้านมือสอง,บ้านเช่า,ขายบ้าน, ที่ดิน, ตกแต่งบ้าน
อัพเดตล่าสุดวันที่ 26/4/2567
หน้าแรก | บ้าน คอนโด บ้านมือสอง | ประกาศ ซื้อขายบ้าน คอนโด ที่ดิน | สินเชื่อ | ตกแต่งบ้าน | เรื่องน่ารู้ | ไลฟ์สไตล์ | ลงประกาศซื้อขายฟรี
 
User Name
Password
เมนูหลัก
สมัครสมาชิก ลงประกาศ
ลืมรหัสผ่าน
ลงประกาศซื้อขาย
ค้นหาประกาศซื้อขาย
คู่มือซื้อขายบ้าน
ติดต่อสอบถาม

บี้"ตึกสูง-ห้าง"ประกันบุคคลที่3 มท.1ไฟเขียวชดเชยแสนบาท/หัว

decorating idea design      รัฐงัดกฎเหล็กคุมเข้มอาคารสาธารณะ 6 ประเภท ทั้งตึกสูง คอนโดฯ โรงแรม โรงหนัง ศูนย์การค้า ป้ายโฆษณา ล้อมคอกปัญหาไฟไหม้ ตึกทรุด บีบผู้ประกอบการทำประกันภัยคุ้มครองชีวิต-ทรัพย์สินบุคคลที่ 3 วงเงิน 1 แสนบาท/ราย หากไม่คุ้มเรียกชดเชยได้เพิ่มอีกต่างหาก ตั้งเงื่อนไขไม่ทำประกัน ไม่ออกใบอนุญาตก่อสร้าง มท.1 ไฟเขียวบังคับใช้แล้ว แค่รอประกาศในราชกิจจานุเบกษา เผยเจ้าของโครงการต้องจ่ายเบี้ยประกันตั้งแต่ 0.5-5% แล้วแต่ความเสี่ยง วงการประกันภัยชี้เป็นผลดีกับทุกฝ่าย ถ้าทำทั้งระบบอัตราเบี้ยประกันมีสิทธิปรับลดลง

นายสว่าง ศรีศกุน อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทย เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า กรมโยธาฯจะออกกฎกระทรวงกำหนดชนิดหรือประเภทของอาคารที่เจ้าของอาคารหรือ ผู้ครอบครองอาคาร หรือผู้ดำเนินการต้องทำประกันภัยความรับผิดชอบตามกฎหมายต่อชีวิต ร่างกายและทรัพย์สินของบุคคลภายนอก ภายใต้กฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร พ.ศ. ... ซึ่งขณะนี้ พล.ต.อ.ชิดชัย วรรณสถิตย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้ลงนามแล้ว เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2548 ที่ผ่านมา ขณะนี้อยู่ระหว่าง

รอประกาศในราชกิจจานุเบกษา คาดว่าจะออกประกาศและมีผลบังคับใช้ได้กับประเภทอาคารที่กำหนดทั่วประเทศ ภายในเดือนสิงหาคมนี้

การดำเนินการดังกล่าวอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 (3) แห่งพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 และมาตรา 8 (13) และ (16) แห่ง พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2543

สาเหตุที่มีการออกกฎกระทรวงฉบับดังกล่าว เป็นเพราะที่ผ่านมาเกิดเหตุการณ์ไฟไหม้โรงแรม อาคารสาธารณะ ตึกทรุด ฯลฯ หลายต่อหลายครั้ง แต่ไม่มีการคุ้มครองความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินที่เกิดขึ้นกับบุคคลภายนอกที่ไปใช้อาคาร เนื่องจากเจ้าของอาคารไม่ได้ทำประกันภัยไว้ กรมโยธาฯและคณะกรรมการควบคุมอาคารจึงเห็นว่าควรออกกฎกระทรวงมาเยียวยา และคุ้มครองบุคคลภายนอกหรือบุคคลที่ 3 ชั้นหนึ่งก่อน อย่างไรก็ตาม หากผู้เสียหายได้รับความเสียหายเกินจากที่เจ้าของอาคารและบริษัทประกันภัยกำหนดไว้ ก็สามารถเรียกร้องค่าเสียหายได้อีกต่างหาก เรื่องนี้มีการผลักดันมานาน แต่เพิ่งผ่านการพิจารณาและเห็นชอบจากคณะกรรมการกฤษฎีกา

นายสว่างกล่าวว่า สาระสำคัญของกฎกระทรวงจะกำหนดให้อาคารของเอกชน ที่ต้องจัดให้มีการประกันภัยความรับผิดตามกฎหมายต่อชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สินของบุคคลภายนอก หรือบุคคลที่ 3 ประกอบด้วยอาคาร 6 ประเภท คือ

  1. อาคารสูงตั้งแต่ 23 เมตรขึ้นไป หรืออาคารตั้งแต่ 7 ชั้น หรืออาคารขนาดใหญ่พิเศษ ที่มีขนาดพื้นที่ 10,000 ตารางเมตรขึ้นไป
  2. อาคารชุมนุมคนขนาดพื้นที่ 1,000 ตารางเมตรขึ้นไป หรือชุมนุมคนได้ตั้งแต่ 500 คนขึ้นไป เช่น คอนโดมิเนียม หอประชุม ห้างสรรพสินค้า เป็นต้น
  3. โรงมหรสพ อาคารหรือส่วนใดของอาคารที่ใช้เป็นสถานที่สำหรับฉายภาพยนตร์ แสดงละคร แสดงดนตรี หรือการแสดงรื่นเริงอื่นใด เปิดให้สาธารณชนเข้าชม
  4. โรงแรม ตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรม
  5. สถานบริการตามกฎหมายว่าด้วยสถานบริการ
  6. ป้ายหรือสิ่งที่สร้างขึ้นสำหรับติดตั้งป้ายที่สูงจากพื้นดิน ตั้งแต่ 15 เมตรขึ้นไป หรือมีพื้นที่ตั้งแต่ 50 ตารางเมตรขึ้นไป หรือป้ายที่ติดหรือตั้งบนหลังคา หรือดาดฟ้าของอาคารหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของอาคารที่มีพื้นที่ ตั้งแต่ 25 ตารางเมตรขึ้นไป

ทั้งนี้ กฎกระทรวงได้ให้นิยามความหมายของคำว่า "บุคคลภายนอก" ที่จะได้รับความคุ้มครองว่า หมายถึง บุคคลที่ไม่ได้ทำงานในอาคาร แต่เข้าไปใช้บริการ หรือติดต่องานในอาคาร

"เมื่อกฎกระทรวงนี้บังคับใช้แล้ว ต่อไปเจ้าของอาคารหรือผู้ครอบครองอาคาร หรือผู้ดำเนินการในอาคารทั้ง 6 ประเภท จะต้องทำประกันสำหรับบุคคลภายนอกทันที ไม่ว่าจะเป็นอาคารเก่าหรืออาคารใหม่ โดยผู้ประกอบการที่จะยื่นขออนุญาตก่อสร้างอาคารเหล่านี้จะต้องจัดทำประกันภัยก่อน จึงจะได้รับอนุญาตก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน หรือใช้อาคาร" นายสว่างกล่าวและว่า

ในบทเฉพาะกาลของกฎกระทรวง ได้มีการกำหนดระยะเวลาให้เจ้าของอาคารหรือผู้ครอบครองอาคาร หรือผู้ดำเนินการ ต้องจัดให้มีการประกันภัยในอาคาร ภายใน 180 วัน หรือ 6 เดือน นับแต่วันที่กฎหมายมีผลบังคับใช้ และจะต้องแสดงสำเนาตารางกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าวไว้ในที่เปิดเผย และเห็นได้ง่ายในอาคารนั้นๆ

"กฎหมายฉบับนี้ทำให้เจ้าของอาคารหรือผู้ครอบครองอาคารหรือผู้ดำเนินการ ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น แต่คงไม่มากเท่าไหร่ ขึ้นอยู่กับเจ้าของอาคารจะกำหนดอัตรากรมธรรม์ประกันภัยไว้ยังไงกับบริษัทประกันภัย ขั้นตอนต่อไปกรมการประกันภัยจะเป็นผู้กำหนด และคำนวณออกมา แต่ละอาคารจะไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับความเสี่ยง เพราะกฎกระทรวงไม่ได้ให้อำนาจให้กรมโยธาฯกำหนดวงเงินประกันภัย รวมถึงบทลงโทษได้เอง"

ทั้งนี้ ในส่วนนี้กรมโยธาฯได้เสนอแผนการพัฒนากฎหมายของกรมโยธาฯไปยังคณะรัฐมนตรี (ครม.) แล้ว โดยเสนอขอแก้ไขกฎหมายควบคุมอาคาร เกี่ยวกับการให้อำนาจในการกำหนดวงเงินประกันภัย และอำนาจกำหนดบทลงโทษ ขณะนี้เรื่องอยู่ระหว่างการพิจารณาของ ครม.

นายชาลี วิสุทธิวัฒนศักดิ์ ผู้อำนวยการสำนักวินาศภัย กรมการประกันภัย กระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า ในเบื้องต้นจะบังคับให้เจ้าของอาคารทำประกันภัยสำหรับบุคคลที่ 3 ไว้วงเงิน 1 แสนบาทต่อคน สำหรับกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ จากเดิมเป็นไปตามความสมัครใจ และในกฎกระทรวงไม่ได้กำหนดวงเงินไว้ ส่วนเบี้ยประกันนั้น ต้องรอให้ กฎกระทรวงมีผลบังคับใช้ก่อน จึงจะกำหนดได้ อย่างไรก็ตาม คาดว่าทั้งหมดจะดำเนินการเสร็จเรียบร้อยภายในปีนี้

"นายถนัด จีรชัยไพศาล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.สามัคคีประกันภัย เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า การออกพระราชบัญญัติความรับผิดทางกฎหมายต่อบุคคลที่ 3 ของอาคารสูงและอาคารสาธารณะ ซึ่งกรมโยธาฯต้นคิดนั้น กรมประกันภัยจะเกี่ยวข้องในส่วนของออกแบบกรมธรรม์ และการกำหนดอัตราเบี้ยประกัน ซึ่งน่าจะกำหนดอัตราเบี้ยประกันไว้เป็นช่วงกว้างๆ โดยอาจจะอยู่ที่ระดับ 0.5-5% จากนั้นจะให้บริษัทประกันภัยกำหนดอัตราเบี้ยประกันภัยอาคารแต่ละประเภทเอง

โดยพิจารณาจากความเสี่ยงของแต่ละอาคาร อาคารไหนความเสี่ยงสูงอัตราเบี้ยประกันภัยก็สูง ซึ่งความเสี่ยงที่จะนำมาพิจารณาจะมีตั้งแต่ประสบการณ์ของผู้บริหารอาคาร ระบบการป้องกันภัย และความชำนาญการของพนักงาน ฯลฯ จากนั้นจึงนำมากำหนดอัตราเบี้ยประภันภัย

"ที่ผ่านมายังไม่มีกฎหมายบังคับ ก็มีเจ้าของตึกทำประกันที่มีความคุ้มครองครอบคลุมถึงความ รับผิดชอบต่อบุคคลที่ 3 อยู่แล้ว โดยข้อมูลจากบริษัทไทยรับประกันภัยต่อ รายงานว่า ปัจจุบันสัดส่วนของอาคารที่ให้ความคุ้มครองในเรื่อง

ดังกล่าวมีประมาณ 30% ของจำนวนอาคารสาธารณะทั้งหมด เพราะเจ้าของอาคารอาจจะมองเห็นความสำคัญในจุดนี้อยู่แล้ว แต่เมื่อมีกฎหมายออกมาอาจทำให้เจ้าของอาคารซื้อกรมธรรม์ดังกล่าวเพิ่มขึ้นเป็น 50-60%"

ในส่วนนี้ บุคคลที่ 3 จะได้รับประโยชน์จากเรื่องดังกล่าว เนื่องจากมีโอกาสจะได้รับการชดเชยมากขึ้น เพราะเมื่อได้รับความเสียหายทางทรัพย์สิน หรือได้รับบาดเจ็บอันเนื่องจากตัวอาคาร เจ้าของอาคารก็สามารถเรียกค่าเสียหายจากบริษัทประกันภัยได้ ในขณะที่หากไม่มีการทำประกันภัย เจ้าของตึกอาจจะไม่ยินยอมชดใช้ค่าเสียหาย และอาจจะมีปัญหายืดเยื้อได้ เพราะตกลงกันไม่ได้

ด้านนายวาสิต ล่ำซำ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส บมจ.ภัทรประกันภัย ให้ความเห็นในทำนองเดียวกันว่า อัตราเบี้ยประกันภัยของอาคารสาธารณะและตึกสูง ที่ต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายและการบาดเจ็บต่อบุคคลที่ 3 น่าจะต่ำกว่าปัจจุบัน แต่ยังไม่มีการกำหนดแน่นอนว่าจะเป็นเท่าไหร่ เพราะต้องพิจารณาจากความเสี่ยงของแต่ละอาคารเป็นสำคัญ

นายชาติชาย ชินเวชกิจวาณิชย์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.เทเวศประกันภัย กล่าวว่า การคำนวณเบี้ยประกันภัยของการซื้อความคุ้มครองต่อบุคคลที่ 3 ของตึกสูงและอาคารสาธารณะนั้น บริษัทจะพิจารณาจากความเสี่ยงของแต่ละอาคารเป็นหลัก โดยความเสี่ยงที่ต้องนำมาพิจารณามี 3 ปัจจัยหลักๆ คือ 1.จำนวนเนื้อที่ของแต่ละอาคาร ถ้ามีเนื้อที่มาก เบี้ยประกันก็ต้องสูงกว่าอาคารที่มีเนื้อที่น้อย 2.วัตถุประสงค์ในการใช้อาคาร เช่น อาคารสำนักงาน อัตราเบี้ยประกันต้องสูงกว่าอาคารทั่วไป เพราะมีบุคคลภายนอกเข้าออกมากกว่า และ 3.ระบบป้องกันภัย อาคารที่มีระบบป้องกันภัยที่ดีอัตราเบี้ยประกันจะถูกกว่า

บ้านมือสอง คอนโด condo บ้านจัดสรร คอนโดมิเนียม บ้านเดี่ยว บ้านเช่า ที่ดิน
วันที่ : 31 กรกฎาคม 2548
จำนวนผู้อ่าน : 3325 ครั้ง
เรื่องอื่นๆที่น่าสนใจ
เดอะ แพลนท์ ซิมพลีส รามคำแหง 118 บ้านเดี่ยว (ดู 16659 ครั้ง)
ภัสสร เพรสทีจ ปิ่นเกล้า-เพชรเกษม บ้านเดี่ยว (ดู 10209 ครั้ง)
เนเชอร่า เทรนด์ ศรีนครินทร์ บ้านเดี่ยว (ดู 9749 ครั้ง)
เดอะทรี อินเตอร์เชนจ์ คอนโด (ดู 10788 ครั้ง)
พลัมคอนโด บางแค (ดู 11184 ครั้ง)
พลัมคอนโด นวมินทร์ (ดู 10762 ครั้ง)
พลัมคอนโด ลาดพร้าว 101 คอนโด (ดู 11037 ครั้ง)
คอนโดเลต ดเวล สุขุมวิท 26 คอนโด (ดู 10500 ครั้ง)
คอนโดเลต ไอซ์ ราชเทวี คอนโด (ดู 10789 ครั้ง)
คอนโดเลต ไลท์ คอนแวนต์ คอนโด (ดู 11041 ครั้ง)
คอนโดฟิวส์ โมเบียส รามคำแหง-คลองตัน คอนโด (ดู 9520 ครั้ง)
คอนโดฟิวส์ จันทน์-สาทร คอนโด (ดู 9184 ครั้ง)
คอนโดฟิวส์ สาทร-ตากสิน คอนโด (ดู 8260 ครั้ง)
คอนโดฟิวส์ เซนเซ่ บางแค (ดู 8550 ครั้ง)
เออบาโน่ แอปโซลูท คอนโด (ดู 8208 ครั้ง)
พลัม พรีเมี่ยม พหลโยธิน คอนโด (ดู 3209 ครั้ง)
ไอวี่ ไชน่า ทาวน์ คอนโด (ดู 3418 ครั้ง)
ไอวี่ รัชดา คอนโด (ดู 3224 ครั้ง)
ไอวี่ ปิ่นเกล้า คอนโด (ดู 3284 ครั้ง)
ไอวี่ทองหล่อ คอนโด (ดู 3494 ครั้ง)
เดอะซี้ด พหลโยธิน คอนโด (ดู 3249 ครั้ง)
เดอะซี้ด รัชดา - ห้วยขวาง คอนโด (ดู 3189 ครั้ง)
เดอะซี้ด สาทร - ตากสิน คอนโด (ดู 3150 ครั้ง)
เดอะซี้ด แจ้งวัฒนะ คอนโด (ดู 3133 ครั้ง)
เดอะซี้ด เตร์เร่ รัชโยธิน คอนโด (ดู 3154 ครั้ง)

Google
 
ขายบ้าน, คอนโด มือสอง, บริษัทนายหน้า, โบรกเกอร์, รับฝากขายบ้าน, ขายบ้าน, realtor, agency, บริษัท ขายบ้าน, ตัวแทน นายหน้า, รับฝากขาย, ซื้อขายบ้าน, ฝากขายบ้าน นายหน้า ขายบ้าน, บ.นายหน้า ขายบ้าน, โบรกเกอร์, ซื้อขายบ้าน, รับฝากขายบ้าน, ตัวแทนนายหน้า, โบรกเกอร์บ้าน, นายหน้าบ้าน, ตัวแทนบ้าน ขายบ้าน ตกแต่งบ้าน ฟอร์นิเจอร์ ออกแบบ บ้าน ซื้อขาย บ้าน, รับออกแบบ บ้าน, รวมแบบบ้านแบบ บ้าน, ตกแต่งภายใน บ้าน, interior design ออกแบบ บ้าน, interior รับออกแบบ บ้าน, Architecture รับออกแบบ บ้าน, ตกแต่งบ้าน, ตกแต่งภายใน, Mudahouse, ตกแต่งภายใน, รับเหมา ก่อสร้างบ้าน, บริษัท ก่อสร้าง
ติดต่อลงโฆษณา : ududee@msn.com
โทรศัพท์: 08-9180-5710
Copyright ©2005-2012 Hometophit All rights reserved