คอนโด, บ้านจัดสรร, บ้านโครงการ,คอนโดมิเนียม,บ้านเดี่ยว, บ้านมือสอง,บ้านเช่า,ขายบ้าน, ที่ดิน, ตกแต่งบ้าน
อัพเดตล่าสุดวันที่ 20/4/2567
หน้าแรก | บ้าน คอนโด บ้านมือสอง | ประกาศ ซื้อขายบ้าน คอนโด ที่ดิน | สินเชื่อ | ตกแต่งบ้าน | เรื่องน่ารู้ | ไลฟ์สไตล์ | ลงประกาศซื้อขายฟรี
 
User Name
Password
เมนูหลัก
สมัครสมาชิก ลงประกาศ
ลืมรหัสผ่าน
ลงประกาศซื้อขาย
ค้นหาประกาศซื้อขาย
คู่มือซื้อขายบ้าน
ติดต่อสอบถาม

เตือนซูชิ มีคอเลสเตอรอล-สารปรอท

หลุยส์ ซัตตัน แห่งมหาวิทยาลัยลีดส์ เมโทรโพลิแทน บอกว่า ซูชิซึ่งมีทั้งหน้าปลาดิบ ไข่ หรือผัก อาจมีคอเลสเตอรอล เกลือ พยาธิตัวกลม สารปรอท และแบคทีเรีย ฉะนั้นควรเลือกกินอย่างชาญฉลาด

           คอเลสเตอรอล : ไข่ปลาค็อดที่แนมมากับซูชินั้น มีกรดไขมันโอเมกา-3 ซึ่งช่วยป้องกันโรคหัวใจ แต่ไข่ปลาก็มีคอเลสเตอรอลสูง จึงไม่ควรกินคราวละมาก ๆ หรือกินบ่อย ๆ หากเป็นคนที่มีคอเลสเตอรอลสูงอยู่แล้ว ส่วนผู้ป่วยโรคเกาต์ไม่ควรกินซูชิเพราะมีกรดยูริกสูง ซึ่งจะทำให้อาการกำเริบ

          เกลือ : แม้ซูชิมีเกลือน้อย แต่ถ้าจิ้มซอสถั่วเหลืองจนชุ่มก็จะเป็นการเพิ่มเกลือ ส่วนซอสที่ใส่มาในถุงพร้อมซูชินั้น มีเกลือ 1 กรัม คนเราไม่ควรได้รับเกลือเกินวันละ 6 กรัม ฉะนั้น คนที่มีความดันโลหิตสูงจึงควรหลีกเลี่ยงซอสถั่วเหลือง หรือคนที่แพทย์แนะนำให้กินอาหารที่มีเกลือน้อย

          พยาธิตัวกลม : รายงานวิชาการสองชิ้น ซึ่งนำเสนอต่อที่ประชุมของสมาคมศาสตร์ว่าด้วยกระเพาะอาหารและลำไส้อเมริกันเมื่อเร็ว ๆ นี้บอกว่าพบพยาธิตัวกลมในซูชิ เมื่อถูกย่อยในทางเดินอาหารของมนุษย์ ตัวอ่อนของพยาธิตัวกลมจะเกาะเข้ากับเยื่อบุกระเพาะอาหารและลำไส้ ทำให้เกิดอาการปวดท้อง คลื่นไส้ และท้องร่วง ดังนั้น ปลาดิบที่จะนำมาทำซูชิควรแช่แข็งที่อุณหภูมิลบ 20 องศาเซลเซียส เป็นเวลาอย่างน้อย 24 ชั่วโมง ซึ่งจะทำให้พยาธิตาย

          สารปรอท : เมื่อปีที่แล้ว ผลวิจัยในวารสาร Biology Letters ในอังกฤษ เปิดเผยว่า ซูชิหน้าปลาทูน่าซึ่งมีขายตามร้านอาหารและซูเปอร์มาร์เก็ตในสหรัฐ มีสารปรอทสูงเกินระดับมาตรฐานด้านสาธารณสุข หากได้รับสารปรอทมากเกินไปจะส่งผลต่อระบบประสาท เช่น อัมพาตสมอง หูหนวก ตาบอด ดังนั้นหญิงมีครรภ์จึงควรหลีกเลี่ยงปลาบางชนิด เช่น เนื้อปลาทูน่าสด

          แบคทีเรีย : แบคทีเรียที่พบบ่อยในซูชิเป็นชนิดสตาไฟโลค็อกคัส ออรีอุส ซึ่งเจอในข้าวมากกว่าในปลาดิบ หากข้าวปั้นถูกทิ้งไว้ที่อุณหภูมิห้อง แบคทีเรียในข้าวจะแบ่งตัว และเสี่ยงต่อโรคอาหารเป็นพิษ

          เช่นนั้นแล้ว การเลือกซื้อควรเลือกซูชิที่สดใหม่ กินหมดภายในเวลาที่กำหนด และเก็บแช่ในตู้เย็น เพื่อป้องกันโรคต่าง ๆ ถามหา


บ้านมือสอง คอนโด condo บ้านจัดสรร คอนโดมิเนียม บ้านเดี่ยว บ้านเช่า ที่ดิน
วันที่ : 18 มกราคม 2555
จำนวนผู้อ่าน : 1144 ครั้ง
เรื่องอื่นๆที่น่าสนใจ
ที่มาของคำว่า กระดาษ (ดู 5116 ครั้ง)
คุณพอใจกับงานที่ทำอยู่แค่ไหน ? (ดู 4388 ครั้ง)
7 ไอเดีย แต่งห้องทํางาน (ดู 4703 ครั้ง)
ตำหนิแบบไหน ไม่ให้ลูกน้องเสียหน้า (ดู 4760 ครั้ง)
กระดาษ (ดู 4378 ครั้ง)
วิธีทำความสะอาดเครื่องต้มกาแฟ (ดู 4319 ครั้ง)
ประวัติของปากกาลูกลื่น (ดู 4419 ครั้ง)
ประวัติและการผลิต ดินสอ (ดู 5764 ครั้ง)
ประวัติความเป็นมาของ ยางลบ (ดู 4854 ครั้ง)
เครื่องถ่ายเอกสาร (ดู 4590 ครั้ง)
จัดฮวงจุ้ย บนโต๊ะทำงาน (ดู 4829 ครั้ง)
เครื่องใช้สำนักงาน (ดู 4455 ครั้ง)
ประวัติเครื่องถ่ายเอกสาร (ดู 4928 ครั้ง)
หมึกปากกาทำจากอะไร (ดู 4693 ครั้ง)
7 เคล็ดลับจัดโต๊ะทำงานแบบมืออาชีพ (ดู 5056 ครั้ง)
การปรับโต๊ะทำงานเพื่อสุขภาพ (ดู 4433 ครั้ง)
เมื่อลูกแม็กซ์หลุดเข้าไปในเครื่องส่งแฟกซ์ (ดู 4098 ครั้ง)
โต๊ะทำงานบอกนิสัย (ดู 4228 ครั้ง)
13 วิธีแก้วิกฤติโลกร้อนที่ออฟฟิค (ดู 4085 ครั้ง)
ราศีกับโต๊ะทำงาน (ดู 4256 ครั้ง)
ตำแหน่งโต๊ะทำงานที่เป็นมงคล (ดู 4501 ครั้ง)
รู้ธาตุออฟฟิศ พิชิตปัญหา (ดู 4332 ครั้ง)
เทคนิคพิชิตโรคของสาวทำงาน (ดู 4199 ครั้ง)
การจัดแบบห้องทำงานสำนักงาน (ดู 4461 ครั้ง)
.การจัดฮวงจุ้ยที่ดีสำหรับสำนักงาน (ดู 4189 ครั้ง)

Google
 
ขายบ้าน, คอนโด มือสอง, บริษัทนายหน้า, โบรกเกอร์, รับฝากขายบ้าน, ขายบ้าน, realtor, agency, บริษัท ขายบ้าน, ตัวแทน นายหน้า, รับฝากขาย, ซื้อขายบ้าน, ฝากขายบ้าน นายหน้า ขายบ้าน, บ.นายหน้า ขายบ้าน, โบรกเกอร์, ซื้อขายบ้าน, รับฝากขายบ้าน, ตัวแทนนายหน้า, โบรกเกอร์บ้าน, นายหน้าบ้าน, ตัวแทนบ้าน ขายบ้าน ตกแต่งบ้าน ฟอร์นิเจอร์ ออกแบบ บ้าน ซื้อขาย บ้าน, รับออกแบบ บ้าน, รวมแบบบ้านแบบ บ้าน, ตกแต่งภายใน บ้าน, interior design ออกแบบ บ้าน, interior รับออกแบบ บ้าน, Architecture รับออกแบบ บ้าน, ตกแต่งบ้าน, ตกแต่งภายใน, Mudahouse, ตกแต่งภายใน, รับเหมา ก่อสร้างบ้าน, บริษัท ก่อสร้าง
ติดต่อลงโฆษณา : ududee@msn.com
โทรศัพท์: 08-9180-5710
Copyright ©2005-2012 Hometophit All rights reserved