|
ประวัติเครื่องถ่ายเอกสาร |
เชสเตอร์ คาร์ลสัน เป็นนักฟิสิกส์อเมริกัน ประดิษฐ์ขึ้นในนิวยอร์กเมื่อปี ค.ศ.1938 ออกใช้ ปี ค.ศ.1947 และเรียกวิธีการนี้ว่า ซีโรกราฟี xerography มาจากคำภาษากรีกแปลว่า การเขียนแห้ง หลักการทำงานนั้นจะเป็นกระบอกหมุนสำหรับให้กระดาษไขแนบโดยรอบและใช้ระบบแสงฉายข้อความหรือภาพของเอกสารที่ทำสำเนาไปยังกระบอกหมุนโดยผ่านกระจกและเลนส์ ระบบแสงนี้ทำให้สามารถย่อหรือขยายขนาดของสำเนาเอกสารได้ กระบอกนี้จะอัดด้วยไฟฟ้าสถิตและเคลือบชั้นบางๆด้วยสาร เซเลเนียม ซึ่งเป็นตัวนำไฟฟ้า เมื่อส่วนที่เป็นสีขาวหรือที่ว่างของต้นฉบับถูกแสง ก็จะสะท้อนแสงไปที่กระบอก ทำให้ประจุไฟฟ้าบนกระบอกถูกลบออก แต่สีดำของต้นฉบับไม่สะท้อนแสง ประจุไฟฟ้าจึงยังคงอยู่ ส่วนที่มีประจุไฟฟ้าจะดึงผงสีดำเรียกว่าสารเปลี่ยนสี toner ซึ่งประกอบเป็นรูปตามต้นฉบับลงบนกระดาษอัดสำเนา ในเครื่องถ่ายเอกสารแบบสี ต้นฉบับจะถูกสแกน 3 ครั้งและส่งไปยังกระบอกโดยผ่านแผ่นกรองแสง 3 สี ซึ่งแยกออกเป็นแม่สีของแสง 3 สี ได้แก่ แดง ฟ้าและเขียว แล้วสร้างใหม่โดยใช้สารเปลี่ยนสีทุติยภูมิ คือ ม่วงแดง น้ำเงินเขียว และเหลืองรวมทั้งสีดำ ให้ปรากฎเป็นสีตามต้นฉบับสำเนา การถ่ายเอกสารสีก็เหมือนการพิมพ์ภาพสีคือ ภาพจะพิมพ์ทับกัน 4 ชั้น ชั้นแรกเป็นส่วนสีเหลือง ต่อมาสีม่วงแดง ตามด้วยสีน้ำเงินเขียวและท้ายสุดคือสีดำ รีดเดอร์ ไดเจสท์ ฉบับก.ย.2539 ระบุไว้ว่า ต้นคิดเครื่องถ่ายเอกสาร มีชื่อว่านาย เชสเตอร์ คาร์ลสัน ทนายความของบริษัทแห่งหนึ่งในนครนิวยอร์ก
ตอนนั้นปี 2479 (ตึกเวิลด์เทรดยังไม่แจ้งเกิดในนิวยอร์กซะด้วยซ้ำ) นายเชสเตอร์ ต้องตรวจเอกสารในบริษัทเครื่องใช้ไฟฟ้าแห่งหนึ่ง และรู้สึกว่าสำเนาเอกสารของสิ่งประดิษฐ์ในสิทธิบัตรนั้นมีไม่พอใช้งาน จะให้ไปพิมพ์ใหม่ก็ได้อยู่หรอก แต่เสียเวลามาก ที่ต้องพิมพ์และตรวจทานกันใหม่ หากจะไปใช้วิธีถ่ายภาพจากเอกสารยิ่งแพงไปกันใหญ่
นายคาร์ลสัน ซึ่งเป็นทนายความและนักประดิษฐ์สมัครเล่น จึงคิดหาทางทำเครื่องที่ถ่ายสำเนาเอกสารให้รวดเร็ว ว่าแล้วจึงไปหาข้อมูลที่ห้องสมุดประชาชนนิวยอร์กทุกวัน เน้นการศึกษาผลงานนักวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแสงกับไฟฟ้าสถิต
อ่านไปอ่านมา ในที่สุดคาร์ลสันก็ไปเจอผลงานการค้นคว้าของนายพอล เซเลนยี นักฟิลิกส์ ชาวฮังกาเรียน ซึ่งพบว่า แสงจะเพิ่มสภาพการนำกระแสไฟฟ้าสถิตของวัตถุนั้นได้
คาร์ลสันจึงเริ่มค้นหาว่าวิธีนำความรู้นี้มาใช้ในกระบวนการสร้างภาพด้วยไฟฟ้าสถิต
เริ่มด้วยการเช่าห้องทดลองในย่านแอสโตเรีย ของนิวยอร์ก และหาผู้ช่วยนักฟิสิกส์ชาวเยอรมัน ชื่อ ออตโต คอร์นี มาทดลองกระบวนการสร้างภาพในห้องทดลองแห่งนี้
ในวันที่ 22 ตุลาคม 2481 คอร์นีเขียนคำว่า "10-22-38 แอสโตเรีย" ลงบนแผ่นกระจกสำหรับกล้องจุลทรรศน์ จากนั้นก็เคลือบแผ่นสังกะสีด้วยผงกำมะถัน แล้วถูแรงๆ ทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าสถิต
จากนั้นก็ประกบแผ่นกระจกเข้ากับแผ่นสังกะสีเคลือบกำมะถัน และนำแผ่นทั้งสองไปวางใต้หลอดไฟฟ้าแบบขดลวดที่สว่างจ้า แล้วเผ่าผงที่เคลือบไว้ให้หลุดออกมาบางส่วน เหลืออยู่แต่คำว่า "10-22-38 แอสโตเรีย" เหมือนต้นฉบับแทบจะไม่ผิดเพี้ยน
เป็นอันว่าเครื่องถ่ายเอกสารที่นายคาร์ลสันหมายมั่นไว้ก็ใกล้เป็นจริง
แต่ในปี 2482 บริษัทกว่า 20 แห่งไม่ยอมซื้อสิทธิบัตรสิ่งประดิษฐ์ของนายคาร์ลสัน แม้ว่าต่อมาคาร์ลสันจะได้รับความช่วยเหลือให้พัฒนาสิ่งประดิษฐ์เพิ่มเติม แต่ก็กินเวลาอีกหลายปีกว่าเครื่องถ่ายเอกสารเครื่องแรกจะปรากฏโฉม
ในปี 2502 เครื่องถ่ายเอกสารเครื่องแรกก็เปิดตัว ในชื่อว่าเครื่องถ่ายรุ่น 914 โดยใช้ระบบที่เรียกว่า xerography ซีโรกราฟฟี มาจากภาษากรีก แปลว่า "แห้ง" และ "เขียน" เพียงแค่กดปุ่ม ก็ถ่ายสำเนาลงบนกระดาษขาวได้อย่างง่ายดาย
นวัตกรรมนี้ประสบความสำเร็จท่วมท้น นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา เครื่องถ่ายเอกสารซีร็อกซ์ ก็กระจายไปทั่วโลก และอยู่ในสถานที่ทำงานเกือบทุกแห่ง
|
|
บ้านมือสอง คอนโด condo บ้านจัดสรร คอนโดมิเนียม บ้านเดี่ยว บ้านเช่า ที่ดิน
วันที่ : 27 มกราคม 2555
จำนวนผู้อ่าน : 5207 ครั้ง
เรื่องอื่นๆที่น่าสนใจ
|
|
|
ขายบ้าน, คอนโด มือสอง, บริษัทนายหน้า, โบรกเกอร์, รับฝากขายบ้าน, ขายบ้าน, realtor, agency, บริษัท ขายบ้าน, ตัวแทน นายหน้า, รับฝากขาย, ซื้อขายบ้าน, ฝากขายบ้าน
นายหน้า ขายบ้าน, บ.นายหน้า ขายบ้าน, โบรกเกอร์, ซื้อขายบ้าน, รับฝากขายบ้าน, ตัวแทนนายหน้า, โบรกเกอร์บ้าน, นายหน้าบ้าน, ตัวแทนบ้าน ขายบ้าน ตกแต่งบ้าน ฟอร์นิเจอร์ ออกแบบ บ้าน ซื้อขาย บ้าน, รับออกแบบ บ้าน, รวมแบบบ้านแบบ บ้าน, ตกแต่งภายใน บ้าน, interior design ออกแบบ บ้าน, interior รับออกแบบ บ้าน,
Architecture รับออกแบบ บ้าน, ตกแต่งบ้าน, ตกแต่งภายใน, Mudahouse, ตกแต่งภายใน, รับเหมา ก่อสร้างบ้าน, บริษัท ก่อสร้าง
|