|
ความรู้ความเข้าใจการลงทุนในกองทุนรวม |
เมื่อกล่าวถึงการลงทุนในกองทุนรวม นักลงทุนหลายท่านจะถามก่อนเลยว่าคืออะไร มีความเสี่ยงมากน้อยเพียงใด และผลตอบแทนจะได้แน่นอนอย่างไร ผมคิดว่านักลงทุนทุกท่านคงได้ยินคำแนะนำทุกครั้งเวลาท่านจะตัดสินใจลงทุนในกองทุนรวมว่า การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลและคู่มือการลงทุนก่อนตัดสินใจลงทุน และผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนรวมมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต พอได้ยินแค่ประโยคนี้ ก็มีคำถามตามมาอีกว่า เมื่อมีความเสี่ยง และไม่ทราบผลตอบแทนที่แน่นอน แล้วจะลงทุนกับกองทุนทำไม ไปฝากเงินกับธนาคารดีกว่า นี้คือประเด็นสำหรับบทความนี้ที่ผมอยากอธิบายให้นักลงทุนได้เข้าใจใน การลงทุนในกองทุนรวม ว่าทำไมต้องลงทุน และกองทุนรวมมีกี่ประเภทรวมทั้งมีความเสี่ยงอย่างไร กองทุนรวม คือ กองทุนที่ผู้มีเงินน้อยๆ นำเงินมารวมกันตามการเสนอบริการจัดการของ บลจ. ต่างๆ โดยได้รับอนุญาตจาก ก.ล.ต. บลจ.จะนำเงินกองนี้ไปลงทุน เมื่อมีผลกำไร ก็นำมาแบ่งคืนให้กับผู้ถือหน่วยแต่ละคน กองทุนรวมก็จะมี 2 ประเภทด้วยกัน คือ กองทุนปิด และกองทุนเปิด สำหรับกองทุนปิด คือกองทุนที่เปิดรับผู้ซื้อหน่วยในเวลาที่กำหนดเพียงครึ่งเดียว แล้วไม่เปิดขายอีก และก็ไม่รับซื้อคืนก่อนครบระยะเวลาที่กำหนดไว้ด้วย ซึ่งกองทุนชนิดนี้ก็จะคล้ายๆ กับการฝากเงินประจำ และเพื่อเพิ่มสภาพคล่องบางกองก็มีการจดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ให้ขายก่อนครบกำหนดอายุก็ได้ อีกองทุนหนึ่งที่ได้รับความนิยมกันคือ กองทุนเปิดกองทุนเปิด คือกองทุนที่เปิดรับซื้อหน่วยลงทุนทุกวัน ตามเวลาที่ระบุไว้ซึ่งบางกองเวลาซื้อและขายคืนจะแตกต่างกัน(อ่านได้จากหนังสือชี้ชวน) และที่สำคัญคือสามารถทำได้ทุกวัน โดยราคาซื้อและราคาขายก็จะต่างกันบ้าง กล่าวคือ ราคาซื้อคืนจากนักลงทุนก็จะต่ำกว่าราคาขายหน่วยลงทุนให้แก่นักลงทุน กองทุนรวมสามารถแบ่งออกได้อีกตามประเภทและลักษณะของการลงทุนได้ 12 กองทุนด้วยกัน คือ 1)กองทุนรวมตลาดเงิน (Money Market Fund) จะลงทุนในหลักทรัพย์ระยะสั้นไม่เกิน 1 ปีที่ให้ดอกเบี้ย เช่น ตั๋วเงิน พันธบัตรและเงินฝากธนาคาร โดยให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าการฝากเงินธนาคาร อย่างน้อยก็ไม่เสียภาษี รวมทั้งความเสี่ยงก็ต่ำด้วย 2)กองทุนรวมตราสารหนี้ (Fixed Income Fund) เน้นลงทุนในตราสารหนี้ ซึ่งให้ดอกเบี้ยเป็นผลตอบแทน เช่น พันธบัตร ตั๋วเงินและหุ้นกู้ ที่เน้นความเสี่ยงต่ำ ข้อดีเมื่อเทียบกับการซื้อตราสารหนี้คือสภาพคล่องที่สามารถขายคืนให้กองทุนได้ทันที และการลงทุนก็ใช้เงินไม่มากเมื่อเทียบกับการซื้อโดยตรงอีกด้วย 3)กองทุนหุ้น (Equity Fund) หรือกองทุนตราสารทุน จะเน้นการลงทุนในหุ้นที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ไม่น้อยกว่า 65% ซึ่งเหมาะสำหรับนักลงทุนที่อยากลงทุนในหุ้นแต่ไม่มีความชำนาญ หรือมีเวลามากในการวิเคราะห์ด้วยตัวเอง ก็ต้องอาศัยมืออาชีพอย่าง ผู้จัดการกองทุน มาบริหารให้ กองทุนชนิดนี้อย่างที่ทราบกันดีเหมาะสำหรับผู้รับความเสี่ยงได้มาก เพื่อผลตอบแทนที่สูง 4)กองทุนรวมแบบผสม (Balanced Fund) จะลงทุนในหุ้นและตราสารหนี้ ซึ่งสัดส่วนเท่าไหร่นั้นขึ้นอยู่กับวิธีและรูปแบบการบริหารจัดการของผู้จัดการกองทุน ของ บลจ. นั้นๆ กล่าวคือเน้นความยืดหยุ่น ปรับตามสถานการณ์ เพื่อลดความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น 5)กองทุนรวมคุ้มครองเงินต้น (Capital Protected Fund) จะลงทุนแบบรักษาเงินต้นและกำไรไม่สูงมากนัก โดยจะลงทุนในตราสารทางการเงินที่มีความเสี่ยงต่ำ 6)กองทุนรวมมีประกัน (Guaranteed Fund) เป็นการลงทุนที่มีผู้รับประกันความเสี่ยงให้ตามเงื่อนไขของการลงทุนที่กำหนดไว้ 7)กองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ (Foreign Investment Fund) กระจายการลงทุนไปในต่างประเทศที่มีเศรษฐกิจดีเพื่อกระจายความเสี่ยง โดยอาจจะลงทุนในหุ้น ตราสารหนี้ ทองคำในภูมิภาคต่างๆ ของโลก ความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นมา คือ ความเสี่ยงในเรื่องของอัตราการแลกเปลี่ยน แต่ก็มีหลายกองทุนที่ทำสัญญาคุ้มครองความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนไว้ 8)กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (Property Fund) เน้นการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ที่มีรายได้ เช่น อาคารสำนักงาน ศูนย์การค้า เพื่อหวังรายได้ที่สม่ำเสมอจากค่าเช่าอสังหาริมทรัพย์นั้น โดยผู้ลงทุนสามารถเป็นเจ้าของและได้รับผลตอบแทนจากทรัพย์สินนั้นๆ 9)กองทุนรวมดัชนี (Index Fund) เน้นการลงทุนสร้างผลตอบแทนตามการเคลื่อนไหวของดัชนีหลักทรัพย์ ตามที่แต่ละ บลจ. เสนอขายต่อนักลงทุน เช่น ลงทุนใน FTSE Index, NYSE Index, HANGSENG Index, SET Index เป็นต้น 10)กองทุนรวมหน่วยลงทุน(Fund of Funds) เป็นกองทุนที่นำเงินไปลงทุนในกองทุนรวมอื่นอีกทีหนึ่ง เพื่อกระจายความเสี่ยงและสร้างผลตอบแทนตามนโยบายการลงทุนที่กำหนดไว้ 11)กองทุนรวมหุ้นระยะยาว (Long Term Equity Fund) เน้นการลงทุนในหุ้นโดยใช้ระยะเวลา 5 ปีปฏิทิน ผู้ถือหน่วยได้สิทธิในการนำเงินลงทุนไปลดหย่อนภาษีได้ โดยมากถึง 15% ของรายได้ทั้งปี หรือไม่เกิน 300,000 บาท 12)กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (Retirement Mutual Fund) เป็นการลงทุนเพื่อประโยชน์ในวัยเกษียณอายุพร้อมได้สิทธิประโยชน์ทางภาษี ซึ่งเน้นการลงทุนอย่างต่อเนื่องถึงอายุ 55 ปี หรือถือไว้ไม่น้อยกว่า 5 ปี แล้วแต่แบบไหนจะนานกว่ากัน โดยนักลงทุนต้องใส่เงินเข้าไปทุกปี แต่ไม่จำกัดจำนวนว่าต้องถึง 15% ของรายได้หรือถึง 300,000 บาท ข้อแตกต่างจากกองทุน LTF คือ ไม่ต้องลงทุนเฉพาะในหุ้น สามารถโยกเงินจากกองทุนหนึ่งไปอีกกองทุนหนึ่งได้ รวมทั้งสามารถโยกย้ายเงินจาก บลจ.หนึ่งไปอีก บลจ.หนึ่งได้ด้วย ทำไมต้องลงทุนในกองทุนรวม 1)สามารถลงทุนโดยใช้เงินไม่มากนักในการลงทุนในตลาดหุ้น ตราสารหนี้ อสังหาริมทรัพย์ ทองคำ โดยการลงทุนเงินผ่าน บลจ. ซึ่งนักลงทุนใช้เงินลงทุนไม่มากนัก เริ่มต้นจาก 2,000 บาท 5,000 บาท หรือ 10,000 บาทก็ลงทุนได้แล้ว ซึ่งขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละบลจ. 2)ลงทุนโดยใช้ความชำนาญและความเชี่ยวชาญ การบริหารการลงทุนโดยผ่านนักบริหารมืออาชีพอย่างผู้จัดการกองทุนของแต่ละบลจ. ซึ่งเป็นผู้ที่มีความรู้และประสบการณ์ รวมทั้งผ่านการอบรมและได้รับใบอนุญาตจัดการกองทุน มาทำหน้าที่วิเคราะห์ว่าจะซื้อ จะขาย จะลงทุนเมื่อไหร่ ลงทุนเมื่อไร ลงทุนในตราสารทางการเงินประเภทไหน 3)เป็นการกระจายความเสี่ยง โดยกองทุนรวมจะมีการลงทุนที่หลากหลายซึ่งจะเป็นกระจายความเสี่ยง และเมื่อเทียบกับการที่ลงทุนด้วยตัวเอง นักลงทุนต้องใช้เงินจำนวนไม่น้อยที่จะซื้อตราสารทางการเงินที่หลากหลาย 4)สามารถเลือกให้เหมาะสมกับตัวของนักลงทุนเอง โดยแต่ละกองทุนซึ่งมีการกระจายลงทุนที่แตกต่างกัน และปรับตามความเสี่ยงต่างๆ ที่เกิดขึ้น นักลงทุนสามารถเลือกลงทุนในกองทุนที่มีความเสี่ยงต่ำ ไปถึงกองทุนที่มีความเสี่ยงสูง 5)มีสภาพคล่อง นักลงทุนสามารถซื้อขายเมื่อไหร่ก็ได้ แต่อย่างไรก็ตามควรศึกษาเงื่อนไขของแต่ละกองทุนว่าต้องซื้อหรือขายก่อนเวลาใด รวมทั้งได้รับเงินคืนเมื่อไรเพราะบางกองให้เงินคืนแบบ T+1, T+2, T+3 เป็นต้น 6)มีกลไกปกป้องผู้ลงทุน เพราะ ก.ล.ต. เป็นผู้กำกับดูแล โดยกำหนดกฎเกณฑ์ต่างๆ เพื่อปกป้องผู้ลงทุน เช่น การเปิดเผยข้อมูลที่สำคัญต่อการตัดสินใจให้แก่นักลงทุนโดยระบุไว้ในเงื่อนไขของการจัดตั้งกองทุนนั้นๆ |
|
บ้านมือสอง คอนโด condo บ้านจัดสรร คอนโดมิเนียม บ้านเดี่ยว บ้านเช่า ที่ดิน
วันที่ : 9 มีนาคม 2551
จำนวนผู้อ่าน : 9477 ครั้ง
เรื่องอื่นๆที่น่าสนใจ
|
|
|
ขายบ้าน, คอนโด มือสอง, บริษัทนายหน้า, โบรกเกอร์, รับฝากขายบ้าน, ขายบ้าน, realtor, agency, บริษัท ขายบ้าน, ตัวแทน นายหน้า, รับฝากขาย, ซื้อขายบ้าน, ฝากขายบ้าน
นายหน้า ขายบ้าน, บ.นายหน้า ขายบ้าน, โบรกเกอร์, ซื้อขายบ้าน, รับฝากขายบ้าน, ตัวแทนนายหน้า, โบรกเกอร์บ้าน, นายหน้าบ้าน, ตัวแทนบ้าน ขายบ้าน ตกแต่งบ้าน ฟอร์นิเจอร์ ออกแบบ บ้าน ซื้อขาย บ้าน, รับออกแบบ บ้าน, รวมแบบบ้านแบบ บ้าน, ตกแต่งภายใน บ้าน, interior design ออกแบบ บ้าน, interior รับออกแบบ บ้าน,
Architecture รับออกแบบ บ้าน, ตกแต่งบ้าน, ตกแต่งภายใน, Mudahouse, ตกแต่งภายใน, รับเหมา ก่อสร้างบ้าน, บริษัท ก่อสร้าง
|