คอนโด, บ้านจัดสรร, บ้านโครงการ,คอนโดมิเนียม,บ้านเดี่ยว, บ้านมือสอง,บ้านเช่า,ขายบ้าน, ที่ดิน, ตกแต่งบ้าน
อัพเดตล่าสุดวันที่ 29/4/2567
หน้าแรก | บ้าน คอนโด บ้านมือสอง | ประกาศ ซื้อขายบ้าน คอนโด ที่ดิน | สินเชื่อ | ตกแต่งบ้าน | เรื่องน่ารู้ | ไลฟ์สไตล์ | ลงประกาศซื้อขายฟรี
 
User Name
Password
เมนูหลัก
สมัครสมาชิก ลงประกาศ
ลืมรหัสผ่าน
ลงประกาศซื้อขาย
ค้นหาประกาศซื้อขาย
คู่มือซื้อขายบ้าน
ติดต่อสอบถาม

การตรวจทางห้องปฏิบัติการ โรคพิษตะกั่ว

๑. ระดับตะกั่วในเลือด บอกถึงการดูดซึมของตะกั่วในร่างกาย และภาวะสมดุลของตะกั่วในเลือด กระดูก และการขับถ่าย เทคนิคที่ใช้ คือการตรวจวัดด้วยเครื่องอะตอมิกแอ็บซอปชัน(Atomic Absorption)
          ๒. ระดับตะกั่วในปัสสาวะทั่วไปและปัสสาวะหลังให้ยาแก้พิษ (Chelating agent) การมีระดับตะกั่วในปัสสาวะสูง เป็นข้อบ่งชี้ของการได้รับตะกั่วเข้าไปในร่างกายในระดับสูงที่ดีที่สุด โดยเฉพาะการเก็บปัสสาวะ ๒๔ ชั่วโมง และปัสสาวะหลังให้ยาแก้พิษ
          ๓. ระดับตะกั่วในเนื้อเยื่อ (ฟัน ผม และเล็บ) การวัดระดับตะกั่วในเนื้อเยื่อ ใช้สำหรับการได้รับตะกั่วเป็นเวลานาน เป็นการเก็บตัวอย่างที่ง่าย โดยเฉพาะผม และเล็บ ส่วนฟันนั้นใช้ได้ดีในกรณีฟันน้ำนมของเด็ก
          ๔. ระดับเอนไซม์ Aminolevulinic AcidDehydrase (ALAD) ในเลือด ใช้ได้เช่นเดียวกับระดับตะกั่วในเลือด
          ๕. ระดับเอนไซม์ Aminolevulinic AcidDehydrase (ALAD) และ Coproporphyrin (CP) ในปัสสาวะ ระดับ d-Aminolevulinic  Acid (ALA) และCP ในปัสสาวะ   จะชี้ให้เห็นการสัมผัสตะกั่วในระยะสั้นได้ดีและจะมีปริมาณลดลง เมื่องดการสัมผัสตะกั่ว
          ๖. ระดับ Erythrocyte Photoporphyrin (EP)ระดับ EP ที่เพิ่มขึ้น แสดงความบกพร่องในการสังเคราะห์ฮีม ซึ่งอาจเป็นผลจากเป็นพิษตะกั่วหรือขาดธาตุเหล็ก
          ๗. การตรวจทางโลหิตวิทยา ได้แก่ การตรวจเฮโมโกลบิน เบโซฟิลิค สติปปลิง (basophilicstippling) ซึ่งความผิดปกติทางโลหิตวิทยา จะช้ากว่าALA และ CP ในปัสสาวะ

 

การควบคุมและป้องกันในกลุ่มประชากรทั่วไป

          ประชากรทั่วไปมีโอกาสเกิดโรคพิษตะกั่วเนื่องจากสัมผัสสารตะกั่วที่ปนเปื้อนในอาหารน้ำดื่ม และในบรรยากาศรอบๆ ตัว ซึ่งมีสาเหตุมาากการใส่สีที่มีสารตะกั่ว เช่น ในขนมหวาน กุ้งแห้ง กะปิ กุนเชียง ฯลฯ การใช้พลาสติก ภาชนะบรรจุอาหารกระป๋อง หรือภาชนะเคลือบสีต่างๆ บรรจุอาหารที่มีฤทธิ์เป็นกรด เช่น น้ำส้มสายชูทำให้ตะกั่วที่เป็นส่วนประกอบของสีในภาชนะบรรจุมีโอกาสละลายปนออกมากับอาหาร การปล่อยน้ำทิ้งที่มีสารตะกั่วปนเปื้อนลงสู่แหล่งน้ำการกำจัดกากของเสีย หรือกากตะกอนที่มีตะกั่วซึ่งจะไปสะสมอยู่ในวงจรอาหาร การควบคุมและป้องกันจึงเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งสามารถทำได้โดย
         
๑.เปลี่ยนการใช้น้ำมันเบนซินมาเป็นชนิดไร้สารตะกั่ว
          ๒.
ควบคุมการปล่อยมลพิษจากโรงงานอุตสาหกรรมให้เป็นไปตามกฎหมาย  ซึ่งกำหนดให้มีปริมาณสารตะกั่วในน้ำทิ้งจากโรงงานไม่มากกว่า๐.๒ มิลลิกรัมต่อลิตร และกากตะกอนจากระบบบำบัดน้ำทิ้งต้องมีการทำลายอย่างถูกหลักวิชาการ
          ๓.ประชาสัมพันธ์ เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับโรคพิษตะกั่ว และการป้องกัน
          ๔.คว
บคุมไม่ให้มีการใช้สารประกอบตะกั่วในการผลิตอาหาร เครื่องดื่ม ยา และเครื่องสำอาง
          ๕.
ใช้วัสดุ หรือสารอื่นทดแทนสารตะกั่วเช่น ใช้ท่อพีวีซี (PVC) แทนท่อตะกั่ว หรือท่อโลหะอาบตะกั่ว

 

ในผู้ใหญ่

          การวินิจฉัย
         
. ประวัติการสัมผัสสารตะกั่ว ในรูปออกไซด์ ฝุ่นละออง โดยทางระบบทางเดินหายใจระบบทางเดินอาหาร และทางผิวหนัง
          ๒. มีอาการของพิษตะกั่วอนินทรีย์ ได้แก่ ซีด อ่อนเพลีย ไม่มีแรง ปวดศีรษะ วิงเวียน เบื่ออาหาร หลงลืมง่าย ไม่มีสมาธิ มือและแขนอ่อนแรง ปวดท้อง คลื่นไส้ เป็นต้น
          มีอาการของพิษตะกั่วอินทรีย์ ได้แก่ มีอาการผิดปกติทางสมอง กระสับกระส่าย พูดมากขึ้น นอนไม่หลับ จิตใจฟุ้งซ่าน ซึม และหมดสติ
          ๓. การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
                    ๓.๑ การตรวจทั่วไปโดยทำการตรวจนับเม็ดเลือด (Complete Blood Count) ใช้เป็นเครื่องชี้บ่งว่าน่าจะมีการเกิดโรคพิษตะกั่ว สมควรใช้การตรวจอื่นเพื่อยืนยันการวินิจฉัย
                    ๓.๒ การวินิจฉัย
                    - พิษตะกั่วอนินทรีย์ อาศัยการตรวจวิเคราะห์ระดับตะกั่วในเลือด เป็นการยืนยันการวินิจฉัย
                    - พิษตะกั่วอินทรีย์ อาศัยการตรวจวิเคราะห์ระดับตะกั่วในปัสสาวะเป็นการ

 
ในเด็ก

          การวินิจฉัย
          เราจะสงสัยโรคพิษตะกั่วในเด็ก เมื่อมีการชักโดยไม่ทราบสาเหตุ ความประพฤติเปลี่ยนแปลงปัญญาอ่อน การวินิจฉัยอาศัยการวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการดังนี้
          ๑. ตรวจนับเม็ดเลือด
          ๒. ตรวจระดับ ALA ในปัสสาวะ
          ๓. การฉายภาพรังสีกระดูก
          ๔. ระดับตะกั่วในเลือดมากกว่า ๒๕ ไมโครกรัมต่อกรัม
          ๕. เส้นผมมีระดับตะกั่วมากกว่า ๘๐ ไมโครกรัม
          ๖. CaNa2EDTA provocation

การรักษา
         
๑. เด็กที่มีระดับตะกั่วในเลือดมากกว่า ๒๕ไมโครกรัมต่อเดซิลิตร ต้องได้รับการรักษา
          ๒. ก่อนใช้ยาแก้พิษ เพื่อขับตะกั่วออกจากร่างกาย (Chelation threapy) ต้องถ่ายภาพรังสีช่องท้องก่อน ถ้ามีตะกั่วในลำไส้ให้ถ่ายออกก่อน
          ๓. เพิ่มการขับถ่ายปัสสาวะ โดยการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ
          ๔. เริ่มให้ยาแก้พิษ (chelating agent)
          ๕. ในเด็กที่ไม่มีอาการ และระดับตะกั่วในเลือดต่ำกว่า ๖๐ ไมโครกรัม ต่อเดซิลิตร อาจใช้Calcium EDTA เพียงอย่างเดียว
          ๖. เมื่อรักษาจนระดับตะกั่วต่ำกว่า ๕๐ ไมโครกรัมต่อเดซิลิตร สามารถให้ผู้ป่วยกลับบ้านโดยให้อยู่แยกจากสิ่งแวดล้อมที่มีตะกั่วมากและให้ D-penicillamine ๓๐-๔๐ มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมโดยแบ่งรับประทานวันละ ๒ ครั้ง เป็นเวลา ๓-๖เดือน หรือจนกว่าระดับตะกั่วจะต่ำกว่า ๓๐ไมโครกรัมต่อเดซิลิตร ขนาดเต็มที่ของ Dpenicillamine ต่อวัน คือ ๕๐๐-๗๐๐ มิลลิกรัมและรับประทานขณะท้องว่าง คือประมาณ ๙๐ นาทีก่อนรับประทานอาหาร
          ๗. รักษาอาการสมองบวม ด้วย ๒๐%Manitol ๕-๑๐ มิลลิลิตรต่อกิโลกรัม ด้วยอัตรา ๑มิลลิลิตรต่อนาที และระงับการชักด้วยการฉีดไดอะซีแพม ๐.๑ มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมเข้าหลอดเลือดดำ
          ๘. ในรายที่ปวดท้องอาจใช้ antispasmodicเช่น Atropine

        โรคพิษตะกั่ว นับเป็นปัญหาสำคัญที่พบได้ทั้งในกลุ่มคนงานที่ทำงานสัมผัสตะกั่ว ประชาชนทั่วไป โดยเฉพาะเด็กและสตรีมีครรภ์ เนื่องจากการปนเปื้อนของสารตะกั่วในสิ่งแวดล้อมและสิ่งของบริโภคต่างๆ ทำให้เกิดการสะสมของตะกั่วในร่างกาย ก่อให้เกิดโรคพิษตะกั่ว ดังนั้นการควบคุมและป้องกันโรคพิษตะกั่วจึงเป็นสิ่งสำคัญสามารถแบ่งกลุ่มเป้าหมายได้เป็น ๒ กลุ่มใหญ่ๆ คือ
         
๑. กลุ่มคนงานที่ทำงานเกี่ยวข้องกับตะกั่วโดยตรง
          ๒. กลุ่มประชาชนทั่วไป

การควบคุมและป้องกันในกลุ่มคนงานที่ทำงานเกี่ยวข้องกับตะกั่วโดยตรง

          ๑. ควบคุมกระบวนการผลิต เพื่อให้มีระดับ ตะกั่วในบรรยากาศการทำงานต่ำที่สุด และต้องไม่เกินค่ามาตรฐานที่กำหนด การควบคุมประกอบด้วย
          - ขบวนการผลิต ควรเป็นระบบปิด และอัตโนมัติ หรือแยกส่วนออกไปต่างหาก เพื่อให้มีการสัมผัสโดยตรงน้อยที่สุด
          - มีระบบระบายอากาศที่เหมาะสม และมีประสิทธิภาพ

          ๒. การควบคุมและสภาวะการทำงาน ได้แก่
          - ลดระยะเวลาการสัมผัสสารตะกั่ว โดยสัมผัสเฉพาะเมื่อจำเป็น
          - ผลัดเปลี่ยนหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานเป็นระยะๆ
          - จัดการเรื่องความสะอาดภายในโรงงานเพื่อให้พื้นที่ในโรงงานปราศจากฝุ่นตะกั่ว
          - ใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลที่เหมาะสม เช่น หน้ากาก ถุงมือ
          - ไม่รับประทานอาหาร ดื่มน้ำ หรือสูบบุหรี่ ในขณะที่ร่างกายมีสารตะกั่วปนเปื้อน หรือในขณะทำงาน และก่อนรับประทานอาหาร ดื่มน้ำหรือสูบบุหรี่ คนงานต้องทำความสะอาดร่างกายก่อนเสมอ เพื่อลดความเสี่ยงต่อการปนเปื้อนของสารตะกั่วในอาหารและเครื่องดื่ม หรือบุหรี่

          ๓. ให้ความรู้แก่คนงานเกี่ยวกับอันตรายของสารตะกั่วต่อสุขภาพอนามัย การควบคุมและป้องกันารเกิดโรคพิษตะกั่ว การใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลที่เหมาะสม

          ๔. การเฝ้าระวังทางการแพทย์ โดยมีการตรวจร่างกายก่อนรับเข้าทำงาน และการตรวจร่างกายประจำปี โดยมีข้อปฏิบัติดังนี้
          - ในคนงานที่ทำงานสัมผัสสารตะกั่วอนินทรีย์ ให้ตรวจวัดปริมาณสารตะกั่วในเลือด

 

- หญิงมีครรภ์ ที่มีปริมาณสารตะกั่วในเลือดเกิน ๒๕ ไมโครกรัมต่อเดซิลิตร ให้หยุดการทำงานที่เกี่ยวกับสารตะกั่วทันที เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับทารกในครรภ์ได้

          การรักษา
          ๑. การรักษาตามอาการ

          - ให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ พร้อมกับแก้ไขสภาวะความไม่สมดุลของน้ำและเกลือแร่ในสภาวะกรด
          - รักษาอาการหมดสติ
          - รักษาอาการสมองบวม อาการชัก
          - อาการปวดท้องอย่างรุนแรง ในผู้ใหญ่รักษาด้วย ๑๐% Calcium gluconate เข้าหลอดเลือดดำ ๑๐ มิลลิเมตร ถ้าไม่ดีขึ้นให้ซ้ำได้อีก ๑ ครั้ง ภายหลัง ๑๕ นาที
          ๒. รักษาเฉพาะ คือ การใช้ยาแก้พิษ เพื่อขับตะกั่วออกจากร่างกาย
                    ๒.๑ ในผู้ป่วยพิษตะกั่วอนินทรีย์ใช้ยาแก้พิษ (Chelating agent)
                    - ชนิดรับประทาน ได้แก่ Dpenicillamine ขนาด ๑๕-๒๐ มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมต่อวัน นาน ๑ วัน เป็นระยะๆ
                    - ชนิดฉีด ได้แก่ Calcium disodium edetate ขนาด ๗๕ มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมต่อวัน นานไม่เกิน ๕ วัน
          ให้ผู้ป่วยหยุดพักจากงานหรือพฤติกรรมที่ ต้องสัมผัสสารตะกั่ว เช่น กรณีตรวจพบระดับตะกั่วในเลือดเท่ากับ ๖๐ ไมโครกรัมต่อเดซิลิตรให้การรักษาจนกระทั่งระดับตะกั่วในเลือดลดลงต่ำกว่า ๔๐ ไมโครกรัมต่อเดซิลิตร จึงอนุญาตให้กลับเข้าทำงานเดิมได้
                   
๒.๒ ในผู้ป่วยพิษตะกั่วอินทรีย์ ไม่มียาแก้พิษ ต้องรีบนำออกจากการสัมผัสโดยเร็ว
บ้านมือสอง คอนโด condo บ้านจัดสรร คอนโดมิเนียม บ้านเดี่ยว บ้านเช่า ที่ดิน
วันที่ : 19 มกราคม 2555
จำนวนผู้อ่าน : 1335 ครั้ง
เรื่องอื่นๆที่น่าสนใจ
ที่มาของคำว่า กระดาษ (ดู 5124 ครั้ง)
คุณพอใจกับงานที่ทำอยู่แค่ไหน ? (ดู 4398 ครั้ง)
7 ไอเดีย แต่งห้องทํางาน (ดู 4711 ครั้ง)
ตำหนิแบบไหน ไม่ให้ลูกน้องเสียหน้า (ดู 4770 ครั้ง)
กระดาษ (ดู 4389 ครั้ง)
วิธีทำความสะอาดเครื่องต้มกาแฟ (ดู 4330 ครั้ง)
ประวัติของปากกาลูกลื่น (ดู 4429 ครั้ง)
ประวัติและการผลิต ดินสอ (ดู 5778 ครั้ง)
ประวัติความเป็นมาของ ยางลบ (ดู 4866 ครั้ง)
เครื่องถ่ายเอกสาร (ดู 4603 ครั้ง)
จัดฮวงจุ้ย บนโต๊ะทำงาน (ดู 4836 ครั้ง)
เครื่องใช้สำนักงาน (ดู 4464 ครั้ง)
ประวัติเครื่องถ่ายเอกสาร (ดู 4940 ครั้ง)
หมึกปากกาทำจากอะไร (ดู 4704 ครั้ง)
7 เคล็ดลับจัดโต๊ะทำงานแบบมืออาชีพ (ดู 5067 ครั้ง)
การปรับโต๊ะทำงานเพื่อสุขภาพ (ดู 4443 ครั้ง)
เมื่อลูกแม็กซ์หลุดเข้าไปในเครื่องส่งแฟกซ์ (ดู 4109 ครั้ง)
โต๊ะทำงานบอกนิสัย (ดู 4238 ครั้ง)
13 วิธีแก้วิกฤติโลกร้อนที่ออฟฟิค (ดู 4096 ครั้ง)
ราศีกับโต๊ะทำงาน (ดู 4263 ครั้ง)
ตำแหน่งโต๊ะทำงานที่เป็นมงคล (ดู 4512 ครั้ง)
รู้ธาตุออฟฟิศ พิชิตปัญหา (ดู 4340 ครั้ง)
เทคนิคพิชิตโรคของสาวทำงาน (ดู 4208 ครั้ง)
การจัดแบบห้องทำงานสำนักงาน (ดู 4469 ครั้ง)
.การจัดฮวงจุ้ยที่ดีสำหรับสำนักงาน (ดู 4195 ครั้ง)

Google
 
ขายบ้าน, คอนโด มือสอง, บริษัทนายหน้า, โบรกเกอร์, รับฝากขายบ้าน, ขายบ้าน, realtor, agency, บริษัท ขายบ้าน, ตัวแทน นายหน้า, รับฝากขาย, ซื้อขายบ้าน, ฝากขายบ้าน นายหน้า ขายบ้าน, บ.นายหน้า ขายบ้าน, โบรกเกอร์, ซื้อขายบ้าน, รับฝากขายบ้าน, ตัวแทนนายหน้า, โบรกเกอร์บ้าน, นายหน้าบ้าน, ตัวแทนบ้าน ขายบ้าน ตกแต่งบ้าน ฟอร์นิเจอร์ ออกแบบ บ้าน ซื้อขาย บ้าน, รับออกแบบ บ้าน, รวมแบบบ้านแบบ บ้าน, ตกแต่งภายใน บ้าน, interior design ออกแบบ บ้าน, interior รับออกแบบ บ้าน, Architecture รับออกแบบ บ้าน, ตกแต่งบ้าน, ตกแต่งภายใน, Mudahouse, ตกแต่งภายใน, รับเหมา ก่อสร้างบ้าน, บริษัท ก่อสร้าง
ติดต่อลงโฆษณา : ududee@msn.com
โทรศัพท์: 08-9180-5710
Copyright ©2005-2012 Hometophit All rights reserved