คอนโด, บ้านจัดสรร, บ้านโครงการ,คอนโดมิเนียม,บ้านเดี่ยว, บ้านมือสอง,บ้านเช่า,ขายบ้าน, ที่ดิน, ตกแต่งบ้าน
อัพเดตล่าสุดวันที่ 29/4/2567
หน้าแรก | บ้าน คอนโด บ้านมือสอง | ประกาศ ซื้อขายบ้าน คอนโด ที่ดิน | สินเชื่อ | ตกแต่งบ้าน | เรื่องน่ารู้ | ไลฟ์สไตล์ | ลงประกาศซื้อขายฟรี
 
User Name
Password
เมนูหลัก
สมัครสมาชิก ลงประกาศ
ลืมรหัสผ่าน
ลงประกาศซื้อขาย
ค้นหาประกาศซื้อขาย
คู่มือซื้อขายบ้าน
ติดต่อสอบถาม

การบาดเจ็บจากกดดันการบีบกดอวัยวะต่างๆ

การบาดเจ็บนี้เกิดขึ้นจากการที่ไม่สามารถปรับความดันของอากาศภายในโพรงอากาศ หรือช่องอากาศปิดในร่างกายให้เท่ากับความกดดันของน้ำภายนอกได้ เนื่องจากขณะดำน้ำจะมีการเปลี่ยนแปลงความดันตลอดเวลาจึงเกิดอาการบาดเจ็บเนื่องจากมีการทำลายเนื้อเยื่อรอบโพรงอากาศหรือช่องอากาศปิดภายในร่างกาย สาเหตุจากการหดตัวและขยายตัวเพื่อปรับความดันภายในช่องหรือโพรงอากาศเหล่านี้กับภายนอกการบาดเจ็บนี้เกิดขึ้นได้ทั้งขณะดำลงและลอยตัวขึ้น โดยไม่ขึ้นกับความลึก ขณะดำน้ำลึกลงไปควรเพิ่มปริมาณอากาศในโพรงอากาศให้มากขึ้นเพื่อให้เกิดความสมดุลกับความดันของน้ำรอบๆ และเมื่อลอยตัวขึ้นสู่ผิวน้ำต้องถ่ายเทอากาศจากโพรงอากาศเหล่านี้ให้เท่ากับภายนอก ถ้าไม่สามารถปรับได้จะทำให้เกิดการฉีกขาด และบอบช้ำของเนื้อเยื่อรอบโพรงอากาศ หรือช่องอากาศปิดเหล่านี้ อวัยวะหรือส่วนของร่างกายที่เป็นช่องอากาศปิดภายในร่างกาย ได้แก่ หู ปอด ระบบทางเดินอาหาร จมูก ฟัน

          อาการและอาการแสดงที่พบจะแตกต่างกันไปตามอวัยวะที่เกิด ดังนี้

 

การบีบกดของหูชั้นกลาง

          การบีบกดของหูชั้นกลาง เป็นอาการที่พบบ่อยที่สุด แต่ไม่รุนแรงมาก
สาเหตุ
         
- ดำน้ำขณะที่ท่อยูสเตเชี่ยนภายในหูชั้นกลางถูกอุดตัน
          - ไม่สามารถดันอากาศเข้าหูได้ขณะดำลง ทำให้หูชั้นกลางไม่สามารถปรับความดันให้สมดุลกับแรงดันจากหูชั้นนอก แรงกดดันภายนอกจึงดันเยื่อแก้วหูฉีกขาด

ปัจจัยเสริมให้หูชั้นกลางมีปัญหา
          - ทางเดินหายใจส่วนบนอักเสบ
          - การแพ้อากาศ
          - เนื้องอกของท่อยูสเตเชี่ยน
          - การไม่ปรับความกดดันในหูชั้นกลางหรือ ป๊อบก่อน หรือดำลงเร็วเกินไป
          - การสูบบุหรี่

อาการและอาการแสดง
          - ปวดภายในหูขณะดำลง และหายปวดทันทีถ้าเยื่อแก้วหูขาด แต่จะมีอาการคลื่นไส้และอาเจียนแทน
          - เยื่อแก้วหูบวมและแดง
          มีเลือดออกเข้าไปในเยื่อแก้วหู หรือหูชั้นกลาง
          - น้ำลายมีเลือด
          - มีเลือดออกมาภายนอก ถ้าเยื่อแก้วหูฉีกขาด
การบีบกดของหูชั้นนอก
สาเหตุ
          - การบีบกดของเครื่องแต่งกาย
          - ใช้เครื่องอุดหู หรือมีวัสดุปิดหูชั้นนอก
          - การแพ้อากาศ การเป็นหวัด
          - ไม่ปรับความกดดันในหูชั้นกลางหรือ ป๊อบก่อน

อาการและอาการแสดง
          - คล้ายการบีบกดของหูชั้นกลาง
          - มักพบเห็นตุ่มพองมีเลือดบนเยื่อแก้วหูหรือรอบเยื่อแก้วหู หรือในช่องหู
          - ถ้าเยื่อแก้วหูทะลุอาการปวดจะหายไปมีอาการเวียนศีรษะ และ   ทรงตัวไม่อยู่ชั่วขณะหนึ่ง
          - หูอื้อ การได้ยินเสียงลดลง
          - เยื่อแก้วหูอาจทะลุ
 
การบีบกดโพรงอากาศในกระดูก (ไซนัส)
          มนุษย์มีโพรงกระดูก (ไซนัส) ที่มีช่องทางติดต่อกับโพรงจมูก แต่ภาวะบางอย่างทำให้ช่องทางติดต่อนี้อุดตัน เช่น หวัด การแพ้อากาศไซนัสอักเสบจึงทำให้โพรงดังกล่าวไม่มีช่องทางติดต่อกับโพรงจมูก

สาเหตุ
         
เกิดจากภาวะถูกอุดกั้นของช่องเปิดจากจมูกไปสู่โพรงอากาศในกระดูกเมื่อดำน้ำลงไปทำให้ความดันในโพรงจมูกมีมากกว่าความดันของอากาศในโพรงอากาศที่อยู่ในกระดูก เป็นสาเหตุให้เกิดการฉีกขาดของเนื้อเยื่อในโพรงอากาศ

อาการและอาการแสดง
          - มีอาการปวดบริเวณใบหน้า โดยเฉพาะที่โหนกแก้ม และเหนือหัวคิ้วข้างเคียง หรือทั้งสองข้างระหว่างการดำน้ำลงไป
          - มีน้ำมูกและเลือดออกจากจมูก เมื่อลอยตัวขึ้นสู่ผิวน้ำ
          - กดเจ็บบริเวณเหนือโพรงอากาศในกระดูกเหล่านั้น
 
การบีบกดปอด/ภาวะปอดฉีก
          การบีบกดปอด/ภาวะปอดฉีก เป็นการบาดเจ็บที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงความกดดันชนิดที่มีอันตรายรุนแรงมากสำหรับนักดำน้ำ

สาเหตุ
          -
การบีบกดเกิดขึ้นเมื่อก๊าซในปอดถูกบีบอัดให้เล็กลงกว่าปริมาตรของปอดเกิดขึ้นในขณะที่
          - มีการดำน้ำลงลึกเกินไประหว่างการดำน้ำตัวเปล่า
          - กลั้นหายใจระหว่างการดำลงไป และขณะใช้เครื่องอุปกรณ์ดำน้ำ
          - อุปกรณ์ดำน้ำชนิดถังติดตัวเสีย หรือการส่งอากาศขัดข้องขณะดำลง
          - เกิดร่วมกับการบีบกดทั่วไปในชุดดำน้ำลึก และบางครั้งเกิดร่วมกับการบีบกดหน้ากากดำน้ำ เมื่อดำขึ้นมีการระบายของอากาศหรือก๊าซไม่เท่ากับการขยายของเนื้อเยื่อปอด อากาศในปอดขยายตัวเพิ่มมากขึ้นโดยที่ปอดไม่ได้ขยายปริมาตรตาม จนถุงลมปอดฉีกขาด เกิดการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อปอด มีฟองอากาศหลุดเข้าเส้นเลือดไปอุดตันหลอดเลือดของอวัยวะสำคัญอื่นๆ เช่น สมอง นอกจากนี้ ฟองอากาศ บางส่วนไปอยู่ใต้ผิวหนัง เยื่อหุ้มหัวใจ และเยื่อหุ้มปอด เป็นต้น

ปัจจัยเสริมที่ทำให้เกิดอาการ 
         
การอุดตันของช่องทางเดินอากาศภายในร่างกาย โรคปอดต่างๆ เช่น หอบหืด ปอดอักเสบ เนื้องอกในปอด

อาการและอาการแสดง
          - มีความรู้สึกว่ามีการบีบอัดทรวงอกระหว่างดำลง
          - ปวดแน่นหน้าอก
          - หายใจลำบาก ในขณะที่กลับขึ้นสู่ผิวน้ำ
          - เสมหะเป็นฟองและมีเลือดปน
ภาวะฟองอากาศอุดหลอดเลือด
          ภาวะฟองอากาศอุดหลอดเลือด เป็นกระบวนการขยายตัวของอากาศที่อยู่ภายในปอด อาจเป็นอากาศที่หายใจ หรืออากาศที่เป็นก๊าซผสมระหว่างการลอยตัวขึ้นสู่ผิวน้ำ โดยการกลั้นหายใจ อากาศในปอดจะขยายตัวขณะที่ความดันภายนอกรอบๆ ตัวลดลง เมื่อขยายตัวมากจนเต็มปอด หรือจนเกินความสามารถของถุงลมปอดที่จะเก็บอากาศไว้โดยไม่มี การระบายออก แต่คนนั้นยังคงกลั้นหายใจอยู่ความดันภายในถุงลมปอดจะสูงกว่าความดันที่อยู่ในส่วนอื่นๆ ของร่างกาย ปอดมีการขยายตัว เกินกว่าปกติ เมื่อถึงจุดหนึ่งถุงลมปอดฉีกขาดและมีอากาศรั่วออกมา แล้วเข้าไปในหลอดเลือดรอบถุงลมปอด หรือเข้าไปในเนื้อเยื่อรอบๆ หรือทั้งสองอย่างถ้าปริมาณฟองอากาศมากพอภายใต้ความกดดันสูงจะแทรกผ่านเนื้อเยื่อไปที่คอเยื้อหุ้มหัวใจ เยื่อหุ้มปอด และไปปรากฏเป็นฟองก๊าซใต้ผิวหนังส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งไปตามกระแสโลหิต ในที่สุดไปอุดตันหลอดเลือดเล็กๆของอวัยวะต่างๆถ้าเป็นอวัยวะสำคัญ เช่น เส้นเลือดสมอง หรือเส้นเลือดหัวใจ แล้วไม่สามารถนำผู้ป่วยเข้าห้องปรับบรรยากาศความกดดันสูงได้อย่างรวดเร็ว จะทำให้เกิดอันตรายถึงตายได้ทันทีอาการที่เกิดขึ้นมักเกิดตอนใกล้จะถึงผิวน้ำ หรือภายใน ๑๐ นาที ก่อนจะถึงผิวน้ำ
 
สาเหตุ

          - การกลั้นหายใจโดยตั้งใจขณะลอยตัวขึ้น เช่น นักดำน้ำสมัครเล่นขึ้นสู่ผิวน้ำโดยการกลั้นหายใจ

          -
โรคต่างๆ ของปอดที่มีโพรง หรือกระเปาะที่มีอากาศค้างอยู่ ทำให้จำกัดการไหลเวียนของอากาศจากบริเวณต่างๆ ภายในปอด เช่น ปอดบวม มีแผลเป็นในเนื้อเยื่อปอด
          -
ความดันที่เปลี่ยนแปลงในความลึกที่ตื้นมาก เป็นภาวะที่เกิดขึ้นบ่อยในการดำน้ำที่ความลึกน้อยกว่า ๓๖ ฟุต
 
อาการและอาการแสดง

         
- อ่อนเพลีย มึนงง เวียนศีรษะ
         
- ชา แขนขาอ่อนแรง
         
- รู้สึกแน่นในลำคอ เสียงมีการเปลี่ยน-แปลง
         
- เจ็บในทรวงอก มีความรู้สึกปวดใต้กระดูกหน้าอกเหมือนถูกทุบ
          - หายใจขัด มีน้ำลายเป็นฟองปนเลือด
          - มีอาการเขียวของผิวหนัง ริมฝีปากเล็บมือ
          - เคลื่อนไหวผิดปกติ เดินโซเซ ทรงตัวลำบาก
          - พูดไม่รู้เรื่อง มองไม่เห็น หรือเห็นไม่ชัด
          - หมดสติทันทีเมื่อถึงผิวน้ำ อาจมีการชักและหยุดหายใจ
 
การรักษา มีวิธีเดียวเท่านั้น คือ นำกลับไปสู่ความกดดันอีกครั้งโดยใช้ห้องปรับบรรยากาศ
 
 
ภาวะพร่องออกซิเจน
          ภาวะพร่องออกซิเจน คือภาวะที่นักดำน้ำมีออกซิเจนไม่เพียงพอต่อความต้องการของเซลล์ในร่างกาย

สาเหตุ
          -
ขาดการส่งอากาศจากพื้นดินลงไปให้ใต้น้ำ หรือมีอากาศไม่เพียงพอ
          - ปริมาณออกซิเจนหมด โดยเฉพาะในถังอากาศที่มีก๊าซผสมโดยที่ไม่ได้ใช้ออกซิเจนบริสุทธิ์ หรือความเข้มข้นของก๊าซออกซิเจนในก๊าซผสมที่ต่ำเกินไป
          - หายใจไม่พอ เนื่องจากประหยัดอากาศ โดยการตั้งอัตราการไหลของก๊าซต่ำเกินไปหรือปริมาณออกซิเจนส่วนหนึ่งถูกดึงไปใช้ในปฏิกิริยาการเกิดสนิมของถังอัดอากาศแบบถังเหล็ก
          - กลั้นหายใจดำน้ำ ทำให้ปริมาณออกซิเจนลดลงอย่างรวดเร็ว ในขณะที่ปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์มีไม่พอถึงจุดกระตุ้นให้เกิดการหายใจ นักดำน้ำจึงหมดสติก่อนโดยไม่มีอาการเตือนให้ดำขึ้น เป็นการหมดสติขณะดำน้ำขึ้น

อาการและอาการแสดง
          - สูญเสียการคิด หรือการทำงานที่ละเอียดไป
          - มีปฏิกิริยาตอบสนองช้าลง สับสน เชื่องช้า งุ่มง่าม
          - อารมณ์เปลี่ยนแปลง ตัดสินใจผิดพลาด
          - การยืน หรือเดินลำบาก แต่มักรู้สึกตัวดี ไม่หมดสติ
          - มีอาการตัวเขียว
          - หมดสติ หยุดหายใจ เสียชีวิตได้ ถ้าไม่ได้รับการช่วยเหลือทันที
 

การช่วยเหลือ นำผู้ป่วยขึ้นสู่ผิวน้ำ อาการเมาจะหายไป

ข้อสังเกต การดำน้ำโดยใช้อากาศผสมที่มีก๊าซไนโตรเจนเป็นส่วนประกอบ ต้องจำกัดไว้ที่ความลึกไม่เกิน ๒๐๐ ฟุต (๖๐ เมตร) เท่านั้น
 
ภาวะการเป็นพิษของก๊าซออกซิเจน
          ภาวะการเป็นพิษของก๊าซออกซิเจน สาเหตุเหมือนภาวะเมาไนโตรเจน โดยมีการได้รับออกซิเจนบริสุทธิ์ที่ความดันสูงในระดับความลึกมากๆ หรือในคนที่มีปฏิกิริยาไวเกินปกติต่อการเป็นพิษของออกซิเจน

อาการและอาการแสดง ขึ้นอยู่กับระดับความลึกระยะเวลาในการดำ และความทนทานของแต่ละบุคคล โดยการเป็นพิษแบ่งได้เป็น ๒ ประเภท
          ประเภทที่ ๑ พิษต่อระบบประสาทส่วนกลาง มีความผิดปกติในการมองเห็น ตาพร่าลานสายตาแคบลง มีความผิดปกติของการได้ยิน รู้สึกคลื่นไส้ มีการกระตุกของกล้ามเนื้อโดยเฉพาะกล้ามเนื้อใบหน้าและปาก หงุดหงิดฉุนเฉียว โกรธง่าย มึนงง วิงเวียนศีรษะ สำหรับอาการที่เป็นอันตรายต่อนักดำน้ำที่สุด คือ การชักในน้ำ เป็นสาเหตุให้จมน้ำตายได้
          ประเภทที่ ๒ พิษต่อปอด มักพบในนักดำน้ำที่หายใจเอาออกซิเจน ๑๐๐% ในระดับความลึกไม่มากนัก แต่ระยะเวลาในการดำนานอาการที่พบได้แก่ ไอ เจ็บหน้าอก เป็นมากตอนหายใจเข้า อาการไอจะมีมากขึ้นเรื่อยๆ

การช่วยเหลือ
ป้องกันอันตรายจากการชัก นำเข้าห้องปรับบรรยากาศ ให้การปฐมพยาบาลและนำขึ้นสู่ผิวน้ำ
 
 
ภาวะคาร์บอนไดออกไซด์มากเกินไป
สาเหตุ
          -
ขาดการส่งอากาศ หรือส่งอากาศไม่เพียงพอ
          - ให้อากาศหายใจน้อยเกินไปในชุดประดาน้ำลึก
          - มีความล้มเหลวในการกำจัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในถังอากาศชนิดติดตัวออก
          - ออกกำลังมากเกินไป หรือความต้องการอากาศหายใจเพิ่มขึ้น
          - มีการหายใจแบบควบคุมมากเกินไปคือ หายใจเข้า-ออกช้าลง

อาการและอาการแสดง
          - หายใจเร็วและแรงแบบหิวอากาศ ปวดศีรษะ มึนงง อ่อนเพลีย คลื่นไส้
          - เหงื่อออกมากผิดปกติ ความคิดไม่แจ่มใส
          - ปฏิกิริยาตอบสนองช้าลง สับสน งุ่มง่ามเชื่องช้า

การช่วยเหลือ
หยุดการเคลื่อนไหว ให้พัก ให้หายใจด้วยออกซิเจนที่ระดับน้ำทะเลปกติ
 
ภาวะคาร์บอนมอนอกไซด์เป็นพิษ
          เมื่อดำน้ำลึกลงไป ความดันย่อยของคาร์บอนมอนอกไซด์เพิ่มขึ้น และละลายในเลือดเพิ่มขึ้น มีการรวมตัวกับเฮโมโกลบินทำการแย่งที่ของออกซิเจน ทำให้ปริมาณออกซิเจนลดลงไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย

สาเหตุ
          มีการปนเปื้อนของก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ในอากาศที่ผู้ดำน้ำใช้หายใจ เนื่องจากมีน้ำมันหล่อลื่นเข้าไปในเครื่องอัดอากาศ หรือท่อรับอากาศของเครื่องอัดอากาศอยู่ใกล้ท่อไอเสียมากไป

อาการและอาการแสดง
          - รู้สึกตื้อบริเวณหน้าผาก ปวดศีรษะมึนงง คลื่นไส้
          - อ่อนเพลีย รู้สึกสับสน
          - การเปลี่ยนแปลงภาวะทางจิตใจอย่างอื่น คล้ายภาวะพร่องออกซิเจน
          - ริมฝีปาก เล็บ และผิวหนังมีสีแดงผิดปกติ
          - หมดสติ

การช่วยเหลือ
          - นำขึ้นสู่ผิวน้ำ ให้อยู่ในที่อากาศบริสุทธิ์ให้ออกซิเจนถ้ามี
          - ให้ออกซิเจนต่อเนื่องในห้องปรับบรรยากาศ
บ้านมือสอง คอนโด condo บ้านจัดสรร คอนโดมิเนียม บ้านเดี่ยว บ้านเช่า ที่ดิน
วันที่ : 19 มกราคม 2555
จำนวนผู้อ่าน : 1334 ครั้ง
เรื่องอื่นๆที่น่าสนใจ
ที่มาของคำว่า กระดาษ (ดู 5124 ครั้ง)
คุณพอใจกับงานที่ทำอยู่แค่ไหน ? (ดู 4398 ครั้ง)
7 ไอเดีย แต่งห้องทํางาน (ดู 4711 ครั้ง)
ตำหนิแบบไหน ไม่ให้ลูกน้องเสียหน้า (ดู 4770 ครั้ง)
กระดาษ (ดู 4389 ครั้ง)
วิธีทำความสะอาดเครื่องต้มกาแฟ (ดู 4330 ครั้ง)
ประวัติของปากกาลูกลื่น (ดู 4429 ครั้ง)
ประวัติและการผลิต ดินสอ (ดู 5778 ครั้ง)
ประวัติความเป็นมาของ ยางลบ (ดู 4865 ครั้ง)
เครื่องถ่ายเอกสาร (ดู 4603 ครั้ง)
จัดฮวงจุ้ย บนโต๊ะทำงาน (ดู 4836 ครั้ง)
เครื่องใช้สำนักงาน (ดู 4464 ครั้ง)
ประวัติเครื่องถ่ายเอกสาร (ดู 4940 ครั้ง)
หมึกปากกาทำจากอะไร (ดู 4704 ครั้ง)
7 เคล็ดลับจัดโต๊ะทำงานแบบมืออาชีพ (ดู 5067 ครั้ง)
การปรับโต๊ะทำงานเพื่อสุขภาพ (ดู 4443 ครั้ง)
เมื่อลูกแม็กซ์หลุดเข้าไปในเครื่องส่งแฟกซ์ (ดู 4109 ครั้ง)
โต๊ะทำงานบอกนิสัย (ดู 4238 ครั้ง)
13 วิธีแก้วิกฤติโลกร้อนที่ออฟฟิค (ดู 4096 ครั้ง)
ราศีกับโต๊ะทำงาน (ดู 4263 ครั้ง)
ตำแหน่งโต๊ะทำงานที่เป็นมงคล (ดู 4512 ครั้ง)
รู้ธาตุออฟฟิศ พิชิตปัญหา (ดู 4340 ครั้ง)
เทคนิคพิชิตโรคของสาวทำงาน (ดู 4208 ครั้ง)
การจัดแบบห้องทำงานสำนักงาน (ดู 4469 ครั้ง)
.การจัดฮวงจุ้ยที่ดีสำหรับสำนักงาน (ดู 4195 ครั้ง)

Google
 
ขายบ้าน, คอนโด มือสอง, บริษัทนายหน้า, โบรกเกอร์, รับฝากขายบ้าน, ขายบ้าน, realtor, agency, บริษัท ขายบ้าน, ตัวแทน นายหน้า, รับฝากขาย, ซื้อขายบ้าน, ฝากขายบ้าน นายหน้า ขายบ้าน, บ.นายหน้า ขายบ้าน, โบรกเกอร์, ซื้อขายบ้าน, รับฝากขายบ้าน, ตัวแทนนายหน้า, โบรกเกอร์บ้าน, นายหน้าบ้าน, ตัวแทนบ้าน ขายบ้าน ตกแต่งบ้าน ฟอร์นิเจอร์ ออกแบบ บ้าน ซื้อขาย บ้าน, รับออกแบบ บ้าน, รวมแบบบ้านแบบ บ้าน, ตกแต่งภายใน บ้าน, interior design ออกแบบ บ้าน, interior รับออกแบบ บ้าน, Architecture รับออกแบบ บ้าน, ตกแต่งบ้าน, ตกแต่งภายใน, Mudahouse, ตกแต่งภายใน, รับเหมา ก่อสร้างบ้าน, บริษัท ก่อสร้าง
ติดต่อลงโฆษณา : ududee@msn.com
โทรศัพท์: 08-9180-5710
Copyright ©2005-2012 Hometophit All rights reserved