คอนโด, บ้านจัดสรร, บ้านโครงการ,คอนโดมิเนียม,บ้านเดี่ยว, บ้านมือสอง,บ้านเช่า,ขายบ้าน, ที่ดิน, ตกแต่งบ้าน
อัพเดตล่าสุดวันที่ 28/4/2567
หน้าแรก | บ้าน คอนโด บ้านมือสอง | ประกาศ ซื้อขายบ้าน คอนโด ที่ดิน | สินเชื่อ | ตกแต่งบ้าน | เรื่องน่ารู้ | ไลฟ์สไตล์ | ลงประกาศซื้อขายฟรี
 
User Name
Password
เมนูหลัก
สมัครสมาชิก ลงประกาศ
ลืมรหัสผ่าน
ลงประกาศซื้อขาย
ค้นหาประกาศซื้อขาย
คู่มือซื้อขายบ้าน
ติดต่อสอบถาม

เรียนรู้จัดการน้ำแบบชาวบ้านผสานเทคโนโลยี

เห็นน้ำก็เหมือนเห็นชีวิตอีกหลายชีวิต"
       
       นี่คือความสำคัญของน้ำ ในสายตาของ "น้าน้อย" ชาวนาในพื้นที่แห้งแล้งของบุรีรัมย์ ที่ปลูกข้าวได้เพียงไร่ละ 10 ถัง และจากผู้มีความรู้เพียงชั้น ป.4 กลายเป็นผู้นำชุมชนที่นำชาวบ้านขุดคลองเก็บน้ำ พร้อมจัดสรรทรัพยากรและทำระบบฐานขอมูลท้องถิ่น ด้วยการประยุกต์ใช้จีพีเอส-ภาพถ่ายดาวเทียม
       
       "การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อการบริหารจัดการน้ำชุมชน" เป็นหัวข้อในเวทีเสวนา "คุยกัน...ฉันวิทย์"ซึ่งจัดขึ้นในวันที่ 6 มี.ค.52 ณ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยทีมข่าววิทยาศาสตร์ ASTV-ผู้จัดการออนไลน์ ได้เข้าฟังเสวนาดังกล่าว ซึ่งได้ นางสนิท ทิพย์นางรองหรือน้าน้อย ผู้แทนชุมชนบ้านลิ่มทอง อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์ และนายมณเฑียร บุญช้างเผือก ผู้แทนชุมชนบ้านป่าสักงาม อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ ร่วมถ่ายทอดประสบการณ์จัดการในพื้นที่ชุมชน ภายใต้การสนับสนุนทางด้านวิชาการและเทคโนโลยีจากสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (สสนก.)
       
       ในส่วนของหมู่บ้านลิ่มทองนั้น น้าน้อยเล่าว่า ก่อนหน้านี้พื้นที่ทำนาขาดแคลนน้ำมาก ซึ่งในปี 2548 วิกฤติถึงขั้นผลผลิตข้าวบางพื้นที่ได้ไม่ถึง 10 ถังต่อไร่ แต่ถึงอย่างนั้นชาวบ้านในหมู่บ้านยังหารือกันแต่เรื่องตัดถนนและการพัฒนาอื่นๆ อีกทั้งชาวบ้านและน้าน้อยเองก็มีหนี้สินมากมาย จนกระทั่ง สสนก.ได้เข้ามาช่วยเหลือในการบริหารจัดการน้ำ ซึ่งเริ่มต้นจากการสำรวจแหล่งน้ำและพื้นที่กักเก็บน้ำ โดยการเดินเท้า และวาดแผนที่ด้วยตัวเอง รวมทั้งสอบถามข้อมูลจากผู้เฒ่าผู้แก่ในหมู่บ้าน
       
       หลังจากที่ลงแรงสำรวจพื้นที่แหล่งน้ำและแหล่งเก็บน้ำ และชาวบ้านในพื้นที่ก็เห็นว่าน้าน้อยและเจ้าหน้าที่จาก สสนก.ทำจริง และทุกคนเห็นประโยชน์ที่จะเกิดขึ้น จึงให้ "ใบยินยอม" เพื่อใช้พื้นที่นาสำหรับขุดคลองเก็บน้ำเป็นระยะทางถึง 36 กิโลเมตร โดยไม่รับค่าเวนคืน ทั้งนี้น้ำที่เก็บได้เป็นของสาธารณะที่ใช้ร่วมกัน ส่วนพื้นที่ยังเป็นกรรมสิทธิของเจ้าของพื้นที่นั้นๆ ปัจจุบันชาวบ้านในหมู่บ้านลิ่มทองจึงมีน้ำเพื่อการเพาะปลูก
       
       ด้าน นายวิชัยรัตน์ ศศิผลิน นักวิจัยสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร ซึ่งลงพื้นที่เพื่อช่วยเหลือชาวบ้านด้วยการบริหารจัดการน้ำ กล่าวว่า หลังจากให้ชาวบ้านได้สำรวจแหล่งน้ำและทำแผนที่จากการวาดด้วยมือเอง ก็ได้นำแผนที่ภาพถ่ายดาวเทียมไปให้ชาวบ้านทำพิกัดแหล่งน้ำ และใช้จีพีเอสกำหนดพิกัด พร้อมบอกเหตุผลที่ไม่นำแผนที่ไปให้ชาวบ้านตั้งแต่แรก เพราะอยากพิสูจน์ว่า "วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ" และภูมิปัญญาชาวบ้านนั้นเป็นจริงหรือไม่
       
       นักวิจัยจาก สสนก.ยกตัวอย่างภูมิปัญญาในการขุดคลองเก็บน้ำที่ได้รับทราบจากผู้อาวุโสใน อ.บ้านด่าน จ.บุรีรัมย์ ถึงวิธีขุดคลองเก็บน้ำ ซึ่งปกติแล้วชาวหมู่บ้านลิ่มทองหลายรุ่นไม่สามารถขุดคอลงเก็บน้ำไว้ได้ เนื่องจากดินในพื้นที่เป็นดินทราย แต่ผู้อาวุโสดังกล่าวแนะภูมิปัญญาที่สืบทอดมาว่า เมื่อขุดแหล่งเก็บน้ำแล้วจะเอาวัว-ควายลงไปเลี้ยง เพื่อให้เหยีบย่ำดินจนแน่นและผสมกับมูลของสัตว์ทำให้ดินแน่นขึ้น แต่ก่อนจะเปิดเป็นพื้นที่รับน้ำก็จะเลี้ยงปลานิลอยู่ประมาณ 2-3 ปี ซึ่งมูลปลานิลจะช่วยอุดรูพรุนที่ก้นสระได้
       
       ส่วนนายมณเฑียรชาวบ้านจากหมู่บ้านป่าสักงามกล่าวว่า ปัญหาในพื้นที่ของเขาคือการตัดไม้ทำป่าที่เป็นต้นน้ำ ซึ่งเขาเองก็เป็นหนึ่งในอดีตผู้มีอาชีพตัดไม้หรือที่เขาเรียกว่า "มอดไม้" โดยมีรายได้เดือนละ 10,000 บาท และเป็นอาชีพที่ทำมาตั้งแต่รุ่นปู่-รุ่นย่า ส่งผลให้ป่าในพื้นที่ชุ่มชนเตียนโล่ง น้ำตกแห้งเหือด แต่เมื่อฟื้นฟูป่าในเวลาเพียง 5 ปี ทำให้มีน้ำตกกลับมาหลังจากแห้งไปนานนับ 10 ปี ซึ่งชาวบ้านก็ใช้เทคโนโลยีจีพีเอสและภาพถ่ายดาวเทียมในการสำรวจพื้นที่ป่ารอบชุมชนเช่นกัน
       
       มณเทียรกล่าวว่า การได้สำรวจพื้นที่ป่าและฟื้นฟูป่าเสื่อมโทรมทำให้ชาวบ้านรู้ว่าการเรียกร้องพื้นที่ทำกินคนละ 20 ไร่นั้นเป็นการเรียกร้องที่เกินกำลังที่ชาวบ้านจะดูแลไหว จึงลดข้อเรียกร้องลงเหลือเพียงไร่ครึ่ง
       
       "เรามีพื้นที่ทำกินคนละไร่ครึ่ง แต่เราพื้นที่หากินจากป่า 37,000 ไร่ เนื่องจากหมู่บ้านเราอยู่พื้นที่ในป่าต้นน้ำ หากชาวบ้านไม่รักษาป่า ที่สุดสังคมก็จะไล่เราออกไป แต่เราได้พิสูจน์แล้วว่าเราอยู่กับป่าได้ แม้เงินหมื่นไม่เห็น แต่เงินพันไม่ขาด" อดีตมอดไม้แห่งป่าต้นน้ำกล่าว
       
       อย่างไรก็ดี การเริ่มต้นบริหารจัดการแหล่งของทั้งน้าน้อยและนายมณเฑียรต่างก็เผชิญอุปสรรค โดยมณเฑียรกล่าวว่าตอนนี้ก็ยังคงมีคนยึดติดกับอาชีพตัดไม้ที่ได้เงินมากกว่า แต่ก็มีคนกลุ่มหนึ่งเช่นกันที่มองเห็นสิ่งที่ยั่งยืนกว่า ส่วนน้าน้อยนั้นคนรอบข้างมองว่าเป็นการเสียเวลาและเสียโอกาสรับจ้างหาเงินวันละ 100-200 บาท แต่น้าน้อยมองว่า ขนาดคนที่มีพร้อมแล้วยังเสียเวลามาช่วยเหลือ ทำไมเราจึงไม่เปิดโอกาสให้ตัวเองบ้าง อีกทั้งได้เห็นความตั้งใจของคนที่อยากช่วยคนจนจึงพยายามสู้.

 

บ้านมือสอง คอนโด condo บ้านจัดสรร คอนโดมิเนียม บ้านเดี่ยว บ้านเช่า ที่ดิน
วันที่ : 26 มกราคม 2555
จำนวนผู้อ่าน : 1421 ครั้ง
เรื่องอื่นๆที่น่าสนใจ
ที่มาของคำว่า กระดาษ (ดู 5124 ครั้ง)
คุณพอใจกับงานที่ทำอยู่แค่ไหน ? (ดู 4397 ครั้ง)
7 ไอเดีย แต่งห้องทํางาน (ดู 4711 ครั้ง)
ตำหนิแบบไหน ไม่ให้ลูกน้องเสียหน้า (ดู 4770 ครั้ง)
กระดาษ (ดู 4388 ครั้ง)
วิธีทำความสะอาดเครื่องต้มกาแฟ (ดู 4330 ครั้ง)
ประวัติของปากกาลูกลื่น (ดู 4429 ครั้ง)
ประวัติและการผลิต ดินสอ (ดู 5776 ครั้ง)
ประวัติความเป็นมาของ ยางลบ (ดู 4864 ครั้ง)
เครื่องถ่ายเอกสาร (ดู 4602 ครั้ง)
จัดฮวงจุ้ย บนโต๊ะทำงาน (ดู 4836 ครั้ง)
เครื่องใช้สำนักงาน (ดู 4464 ครั้ง)
ประวัติเครื่องถ่ายเอกสาร (ดู 4940 ครั้ง)
หมึกปากกาทำจากอะไร (ดู 4704 ครั้ง)
7 เคล็ดลับจัดโต๊ะทำงานแบบมืออาชีพ (ดู 5065 ครั้ง)
การปรับโต๊ะทำงานเพื่อสุขภาพ (ดู 4443 ครั้ง)
เมื่อลูกแม็กซ์หลุดเข้าไปในเครื่องส่งแฟกซ์ (ดู 4107 ครั้ง)
โต๊ะทำงานบอกนิสัย (ดู 4237 ครั้ง)
13 วิธีแก้วิกฤติโลกร้อนที่ออฟฟิค (ดู 4096 ครั้ง)
ราศีกับโต๊ะทำงาน (ดู 4263 ครั้ง)
ตำแหน่งโต๊ะทำงานที่เป็นมงคล (ดู 4511 ครั้ง)
รู้ธาตุออฟฟิศ พิชิตปัญหา (ดู 4340 ครั้ง)
เทคนิคพิชิตโรคของสาวทำงาน (ดู 4208 ครั้ง)
การจัดแบบห้องทำงานสำนักงาน (ดู 4469 ครั้ง)
.การจัดฮวงจุ้ยที่ดีสำหรับสำนักงาน (ดู 4195 ครั้ง)

Google
 
ขายบ้าน, คอนโด มือสอง, บริษัทนายหน้า, โบรกเกอร์, รับฝากขายบ้าน, ขายบ้าน, realtor, agency, บริษัท ขายบ้าน, ตัวแทน นายหน้า, รับฝากขาย, ซื้อขายบ้าน, ฝากขายบ้าน นายหน้า ขายบ้าน, บ.นายหน้า ขายบ้าน, โบรกเกอร์, ซื้อขายบ้าน, รับฝากขายบ้าน, ตัวแทนนายหน้า, โบรกเกอร์บ้าน, นายหน้าบ้าน, ตัวแทนบ้าน ขายบ้าน ตกแต่งบ้าน ฟอร์นิเจอร์ ออกแบบ บ้าน ซื้อขาย บ้าน, รับออกแบบ บ้าน, รวมแบบบ้านแบบ บ้าน, ตกแต่งภายใน บ้าน, interior design ออกแบบ บ้าน, interior รับออกแบบ บ้าน, Architecture รับออกแบบ บ้าน, ตกแต่งบ้าน, ตกแต่งภายใน, Mudahouse, ตกแต่งภายใน, รับเหมา ก่อสร้างบ้าน, บริษัท ก่อสร้าง
ติดต่อลงโฆษณา : ududee@msn.com
โทรศัพท์: 08-9180-5710
Copyright ©2005-2012 Hometophit All rights reserved