|
จัดตั้งนิติบุคคลฯแล้วจะเป็นอย่างไร |
นับแต่พระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543 เรื่องของการจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรก็ยังคงเป็นเรื่องใหม่เสมอ สำหรับผู้ที่ซื้อบ้านจัดสรร และเจ้าของโครงการ ทั้งนี้เนื่องจากเจ้าของโครงการจัดสรรไม่มีวางแผน และเตรียมการจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรเอาไว้ล่วงหน้า ทำให้มีการจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรเป็นไปได้สำเร็จน้อยมาก ทุกฝ่ายต้องศึกษาและทำความเข้าใจก่อนว่าหลักสำคัญที่กฎหมายต้องการให้มีการจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรนั้น เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้จัดสรรที่ดินสามารถโอนสาธารณูปโภคภายในโครงการให้แก่ผู้ซื้อบ้านจัดสรรจำนวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนแปลงย่อยทั้งหมด เพื่อจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรขึ้น มาทำหน้าที่รับโอนสาธารณูปโภคในโครงการจัดสรร เพื่อมาบริหารจัดการ ดูแล บำรุงรักษาด้วยตนเอง หากจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรเรียบร้อยแล้ว จะมีผลดังนี้ 1. ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับผู้จัดสรรนั้น จะทำให้พ้นจากหน้าที่และความรับผิดชอบในการบำรุงรักษาที่ดินอันเป็นสาธารณูปโภค แต่ต้องโอนทรัพย์สินและส่งมอบเงินค่าบำรุงรักษาสาธารณูปโภคให้แก่นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร (ในส่วนที่ดินที่ยังไม่จำหน่าย ผู้จัดสรรก็ยังคงมีหน้าที่ชำระค่าส่วนกลางตามปกติเช่นกัน) ในส่วนของผู้ซื้อบ้านจัดสรรนั้นไม่ว่าจะเห็นชอบด้วยหรือไม่ก็ตาม จะกลายสภาพเป็นสมาชิกในนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรทันที และในส่วนของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรนั้น จะมีฐานะเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายโดยมีคณะกรรมการหมู่บ้านจัดสรรเป็นผู้ดำเนินกิจการแทนนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร ทั้งนี้เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมาย และตามข้อบังคับของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรนั้นๆ แต่ต้องอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของที่ประชุมใหญ่สมาชิก 2. นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรจะได้สิทธิพิเศษเกี่ยวกับค่าธรรมเนียม ภาษี และอากรแสตมป์ 3. นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรจะมีหน้าที่จัดการและดูแลบำรุงรักษาทรัพย์สินที่รับโอนจากผู้จัดสรรที่ดิน กำหนดระเบียบการใช้ประโยชน์สาธารณูปโภค การอยู่อาศัยและการจราจร การเรียกเก็บเงินค่าใช้จ่าย เป็นโจทก์แทนสมาชิก (ตั้งแต่ 10 รายขึ้นไป) จัดให้มีบริการสาธารณะ ดำเนินการอื่นตามกฎหมาย 4. สมาชิกนิติฯมีหน้าที่ชำระค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภค ทั้งนี้การกำหนดอัตราค่าใช้จ่าย ต้องได้รับความเห็นชอบจากมติที่ประชุมใหญ่หมู่บ้านจัดสรร โดยอาจกำหนดค่าใช้จ่ายให้แตกต่างกันตามประเภทของการใช้ประโยชน์ในที่ดิน หรือตามขนาดพื้นที่ก็ได้ สิทธิและหน้าที่ของสมาชิกนิติบุคคลอื่นตามที่กำหนดในข้อบังคับ 5. บทลงโทษสำหรับสมาชิกที่ชำระเงินล่าช้า กรณีชำระค่าใช้จ่ายล่าช้าต้องจ่ายค่าปรับตามอัตราที่คณะกรรมการจัดสรรที่ดินกำหนด กรณีชำระค่าใช้จ่ายล่าช้าติดต่อกัน 3 เดือน ถูกระงับการให้บริการหรือการใช้สิทธิในสาธารณูปโภค และกรณีชำระค่าใช้จ่ายล่าช้าติดต่อกัน 6 เดือน พนักงานเจ้าหน้าที่อำนาจระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมที่ดินแปลงดังกล่าวได้ โดยให้ถือว่าหนี้ที่ค้างชำระค่าส่วนกลางเป็นหนี้บุริมสิทธิในมูลรักษาอสังหาริมทรัพย์. |
|
บ้านมือสอง คอนโด condo บ้านจัดสรร คอนโดมิเนียม บ้านเดี่ยว บ้านเช่า ที่ดิน
วันที่ : 8 มีนาคม 2556
จำนวนผู้อ่าน : 4238 ครั้ง
เรื่องอื่นๆที่น่าสนใจ
|
|
|
ขายบ้าน, คอนโด มือสอง, บริษัทนายหน้า, โบรกเกอร์, รับฝากขายบ้าน, ขายบ้าน, realtor, agency, บริษัท ขายบ้าน, ตัวแทน นายหน้า, รับฝากขาย, ซื้อขายบ้าน, ฝากขายบ้าน
นายหน้า ขายบ้าน, บ.นายหน้า ขายบ้าน, โบรกเกอร์, ซื้อขายบ้าน, รับฝากขายบ้าน, ตัวแทนนายหน้า, โบรกเกอร์บ้าน, นายหน้าบ้าน, ตัวแทนบ้าน ขายบ้าน ตกแต่งบ้าน ฟอร์นิเจอร์ ออกแบบ บ้าน ซื้อขาย บ้าน, รับออกแบบ บ้าน, รวมแบบบ้านแบบ บ้าน, ตกแต่งภายใน บ้าน, interior design ออกแบบ บ้าน, interior รับออกแบบ บ้าน,
Architecture รับออกแบบ บ้าน, ตกแต่งบ้าน, ตกแต่งภายใน, Mudahouse, ตกแต่งภายใน, รับเหมา ก่อสร้างบ้าน, บริษัท ก่อสร้าง
|