คอนโด, บ้านจัดสรร, บ้านโครงการ,คอนโดมิเนียม,บ้านเดี่ยว, บ้านมือสอง,บ้านเช่า,ขายบ้าน, ที่ดิน, ตกแต่งบ้าน
อัพเดตล่าสุดวันที่ 20/4/2567
หน้าแรก | บ้าน คอนโด บ้านมือสอง | ประกาศ ซื้อขายบ้าน คอนโด ที่ดิน | สินเชื่อ | ตกแต่งบ้าน | เรื่องน่ารู้ | ไลฟ์สไตล์ | ลงประกาศซื้อขายฟรี
 
User Name
Password
เมนูหลัก
สมัครสมาชิก ลงประกาศ
ลืมรหัสผ่าน
ลงประกาศซื้อขาย
ค้นหาประกาศซื้อขาย
คู่มือซื้อขายบ้าน
ติดต่อสอบถาม

ความปลอดภัยของอุปกรณ์ติดตั้งทางไฟฟ้า

สายไฟฟ้า
การเลือกใช้สายไฟฟ้า

  1. ใช้เฉพาะสายไฟฟ้าที่ได้มาตรฐานจากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม(มอก.) เท่านั้น
  2. สายไฟฟ้าชนิดที่ใช้เดินภายในอาคารห้ามนำไปใช้เดินนอกอาคาร เพราะแสงแดดจะทำให้ฉนวนแตกกรอบชำรุด สายไฟชนิดที่ใช้เดินนอกอาคารมักจะเติมสารป้องกันแสงแดดไว้ในเปลือกหรือฉนวนของสาย สารป้องกันแสงแดด
    ที่ใช้กันมากนั้นจะเป็นสีดำแต่อาจเป็นสีอื่นก็ได้ การเดินร้อยในท่อก็มีส่วนช่วยป้องกันฉนวนของสายจากแสงแดดได้ระดับหนึ่ง
  3. เลือกใช้ชนิดของสายไฟให้เหมาะสมกับสภาพการติดตั้งใช้งาน เช่นสายไฟชนิดอ่อน ห้ามนำไปใช้เดินยึดติดกับผนัง
    หรือลากผ่านบริเวณที่มีการกดทับสายเนื่องจากฉนวนของสายไม่สามารถรับแรงกระแทกจากอุปกรณ์จับ
    ยึดสายได้การเดินสายใต้ดินก็ต้องใช้ชนิดที่เป็นสายที่ไม่สามารถรับแรงกระแทกจากอุปกรณ์จับยึดสายได้ การเดินสายใต้ดินก็ต้องใช้ชนิดที่เป็นสายใต้ดิน พร้อมทั้งมีการเดินร้อยในท่อเพื่อป้องกันสายใต้ดินไม่ให้เสียหาย

     
  1. ขนาดของสายไฟฟ้าต้องเลือกให้เหมาะสมกับแรงดันไฟฟ้าละปริมาณกระแสไฟฟ้าที่ใช้งาน
    และสอดคล้องกับขนาดของฟิวส์หรือสวิตช์อัตโนมัติ (เบรกเกอร์) ที่ใช้

การเดินสายไฟฟ้า

  1. เลือกว่าจ้างช่างเดินสายไฟฟ้าที่มีประสบการณ์สูงหรือช่างที่เคยผ่านการอบรมจากการไฟฟ้า
  2. หลีกเหลี่ยงการมีจุดต่อสายไฟฟ้าเกินความจำเป็น หากมีการต่อสายก็ต้องเลือกใช้อุปกรณ์การต่อสายที่ถูกต้อง มั่นคงแข็งแรง
  3. สายไฟฟ้าที่ทะลุผ่านผนังหรือออกมาจากอุปกรณ์ไฟฟ้าต้องมีฉนวนรองรับ เพื่อป้องกันฉนวนของสายไฟฟ้าถูกบาดจนชำรุด
  4. สายไฟฉนวนสีดำ ใช้สำหรับสายไฟที่มีไฟ ส่วนสีเทาอ่อนหรือสีขาว ใช้สำหรับสายเส้นที่ไม่มีไฟ (สายศูนย์)
    สำหรับสีเขียวหรือสีเขียวสลับเหลือง ใช้สำหรับสายดิน
  5. อุปกรณ์ป้องกันกระแสไฟฟ้าเกิน เช่น ฟิวส์ หรือเบรกเกอร์ รวมทั้งสวิตช์ปิด-เปิด ให้ต่อกับสายไฟฟ้าที่มีฉนวนสีดำ
    (เส้นที่มีไฟ) เท่านั้น และห้ามต่อฟิวส์ในสายเส้นที่ไม่มีไฟ (เส้นศูนย์) ในกรณีที่ใช้เบรกเกอร์หรือสวิตช์ ในเส้นศูนย์ด้วยต้องเป็นชนิดที่ตัดไฟหรือปลดสายไฟทุกเส้นออกพร้อมกัน (2 ขั้วพร้อมกัน)
  6. กรณีที่มีการต่อเติมเดินสายไฟบางส่วนแล้วพบว่า การเดินสายไฟเดิมทั้งบ้านใช้สีของสายๆฟสลับกันกับมาตราฐานเหมือนกัน
    ทั้งหมด (เส้นที่มีไฟใช้สีขาว เส้นศูนย์ใช้สีดำ) หากไม่สามารถแก้ไขใหม่ได้ขอให้ใช้สายไฟระบบเดียวกันทั้งบ้าน แต่ต้องมีเครื่องหมายหรือเอกสารกำกับไว้ที่แผงสวิตช์หรือต็เมนสวิตช์สำหรับช่างไฟ และเจ้าของบ้านทราบทุกครั้งที่มีการตรวจสอบด้วย
  7. กรณีของสายดิน ถ้าใช้สายดินเป็นเส้นเดี่ยวต้องมีฉนวนเป็นสีขาวและถ้าสายวงจรเดินในท่อโลหะต้องเดินสายดิน
    ในท่อเดียวกับสายวงจรด้วยห้ามเดินนอกท่อโลหะ
  8. สายไฟสายเดี่ยวที่เป็นฉนวนชั้นเดียวเช่น สาย THW. ไม่อนุญาตให้เดินสายโดยใช้เข็มขัดรัดสาย
  9. สายเมนที่มีขนาดต่ำกว่า 50 ตร.มม. ไม่ควรนำมาควบสาย
     


การตรวจสอบสายไฟฟ้า

  1. ตรวจสอบการเดินสายไฟ ว่าใช้สีถูกต้องตามมาตรฐานหรือไม่ (ใช้ไขควงล่อไฟ) หากไม่ถูกต้องเพียงบางจุดให้แก้ไข
    สลับสายใหม่ หากไม่ถูกต้องตลอดทั้งอาคารเหมือนกันหมดให้มีเครื่องหมายหรือเอกสารกำกับไว้ที่แผงสวิตช์หรือตู้เมนสวิตช์ด้วย เพื่อป้องกันการเข้าใจผิดภายหลัง
  2. ตรวจสอบจุดต่อสาย การเข้าสาย ต้องขันให้แน่อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
  3. สังเกตอุณหภูมิของสาย โดยสัมผัสที่ผิวฉนวนของสาย ถ้ารู้สึกอุ่นหรือร้อนแสดงว่าผิดปกติ อาจเนื่องจากใช้ไฟเกินขนาดของ
    สาย หรือมีจุดต่อสายต่างๆไม่แน่น เช่น ปลั๊กไฟ เต้ารับ สวิตช์ เป็นต้น
  4. สังเกตุสีของของเปลือกสาย ถ้าสายไฟบางเส้นมีสีเปลี่ยนไป เช่น สีขาวเปลี่ยนเป็นสีคล้ำหรือฝุ่นจับมาก แสดงว่ามีอุณหภูมิสูงกว่าปกติอาจมีไฟใช้เกินขนาดสายหรือมีการต่อสายไม่แน่น
  5. ฉนวนของสายไฟฟ้าต้องไม่มีการแตกกรอบ ไม่มีรอยไหม้ ชำรุด ถ้าพบควรหาสาเหตุและแก้ไขสาเหตุแล้วแก้ไขสาเหตุ พร้อมเปลี่ยนสายใหม่
  6. หมั่นตรวจสอบสภาพของสายไฟฟ้าปีละ 1 ครั้งเป็นอย่างน้อยโดยให้มีการบันทึกข้อมูลการตรวจสอบสภาพไว้ทุกครั้ง
  7. กรณีที่มีการใช้ไฟฟ้ามากขึ้น ควรตรวจสอบขนาดของสายไฟฟ้าที่ใช้อยู่ว่าเหมาะสมหรือไม่
    ถ้าขนาดของสายไฟไม่เพียงพอต้องเปลี่ยนใหม่
  8. ตรวจสอบสายไฟบริเวณที่ทะลุผ่านฝ้าเพดานหรือผนัง อาจมีรอยหนูแทะเปลือกของสายทำให้เกิดลัดวงจรและเกิดไฟไหม้ได้

เมนสวิตช์

เมนสวิตช์ หมายถึง อุปกรณ์บนแผงควบคุมการจ่ายไฟฟ้าที่ทำหน้าที่ควบคุมการใช้ๆฟฟ้าให้เกิดความปลอดภัยสามารถสับหรือปลด
ออกได้ทันที เมนสวิตช์มักจะหมายถึง อุปกรณ์สับปลดวงจรไฟฟ้าตัวแรกถัดจากเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้า(มิเตอร์) ของการไฟฟ้าเข้ามา
ในบ้าน ซึ่งจะรวมถึงอุปกรณ์ป้องกันกระแสไฟฟ้าเกินและลัดวงจรด้วย

  1. ขนาดปรับตั้งของอุปกรณ์ป้องกันกระแสเกินหรือลัดวงจร เช่น ฟิวส์หรือเบรกเกอร์ต้องเลือกขนาดให้สามารถตัดวงจรไฟฟ้าในขณะที่เกิดลัดวงจร หรือมีกระแสไฟฟ้าเกินก่อนที่สายไฟฟ้าและอุปกรณ์อื่นๆจะเสียหาย
  2. ความสามารถหรือพิกัดในการตัดกระแสไฟฟ้าลัดวงจร ของฟิวส์หรือเบรกเกอร์ต้องสูงกว่าค่ากระแสลัดวงจรของระบบไฟฟ้าที่ตำแหน่งติดตั้ง ปกติมีหน่วยเป็น kA หรือ
    กิโลแอมแปร์ ค่าพิกัดกระแสลัดวงจร ( IC ) สอดคล้องกับแรงดันไฟฟ้าที่ใช้งานด้วย


     

     
     

  1. ตำแหน่งของเมนสวิตช์ต้องอยู่ห่างจากวัตถุที่เป็นเชื้อเพลิง เช่น ผ้า กระดาษ หรือ สารไวไฟ เช่น ทินเนอร์ผสมสี
  2. ตู้เมนสวิตช์ หากทำด้วยโลหะต้องต่อลงดิน หากไม่ใช่โลหะต้องทำด้วยสารที่ไม่ติดไฟได้ง่าย หรือทำด้วยวัตถุที่ไม่ไหม้
    ลุกลาม (Flame-retarded)
  3. ตำแหน่งของเมนสวิตช์ต้องเข้าถึงได้สะดวก และมีการระบายอากาศบ้างอย่างเพียงพอ
  4. ตำแหน่งของเมนสวิตช์ควรอยู่สูงพ้นระดับที่น้ำอาจท่วมถึง และไม่อยู่ใกล้กับแนวท่อน้ำหรือท่อระบายน้ำเพื่อป้องกันอันตรายในกรณีที่ท่อน้ำชำรุด
  5. ในกรณีที่เมนสวิตช์ ประกอบด้วย คัตเอาท์ (สวิตช์ใบมีด) และคาร์ทริดจ์ฟิวส์ (ฟิวส์กระปุก) ให้ต่อตรงที่ตำแหน่ง
    ฟิวส์ภายในคัตเอาท์ด้วยสายทองแดงที่มีขนาดเพียงพอ (ไม่เล็กกว่าสายเมน)เพื่อให้ทำหน้าที่เป็นสะพานไฟ
    สับ-ปลดวงจรอย่างเดียว โดยให้คาร์ทริดจ์ ฟิวส์ทำหน้าที่ป้องกันกระแสเกินและกระแสลัดวงจรแทน
  6. ในขณะที่ปลดเมนสวิตช์ เพื่อการซ่อมแซมหรือบำรุงรักษานั้น ให้เขียนป้ายเตือนไว้ว่า “ ห้ามสับไฟ ! ช่างไฟฟ้ากำลังทำงาน ” แขวนไว้ที่เมนสวิตช์ทุกครั้ง
  7. เครื่องตัดไฟรั่ว ควรมีปุ่มทดสอบการทำงาน และมีการกดปุ่มทดสอบการทำงาน และมีการกดปุ่มทดสอบเป็นประจำเครื่องตัดไฟรั่วที่ใช้
    ป้องกันไฟดูด ควรมีความเร็วสูงโดยต้องมีขนาดกระแสไฟฟ้ารั่วไม่เกิน 30mAและหากใช้ตัวเดียวป้องกัน
    ทั้งบ้านอาจมีปัญหาเครื่องตัดบ่อยจึงควรใช้เฉพาะวงจรย่อยหรือเต้ารับพิเศษหรือใช้แยกวงจรที่มีกระแสไฟรั่ว
    โดยธรรมชาติออก เช่นเครื่องปรับอากาศชนิดแยกส่วนวงจรที่มีลักษณะเป็นตัวเก็บประจุ
    หรือเครื่องป้องกันฟ้าผ่าที่มีการต่อลงดิน เป็นต้น
  8. ขั้วต่อสาย การเข้าสายและจุดสัมผัสต่างๆต้องหมั่นตรวจสอบขันให้แน่นอย่างน้อยปีละ 1 ครั้งเพื่อไม่ให้เกิดความร้อน
    วิธีตรวจสอบอุณหภูมิของสายอย่างง่ายๆอาจใช้นิ้วสัมผัสฉนวนสายบริเวณใกล้กับจุดต่อต่างๆ ก็ได้
  9. เมื่อมีการทำงานต่างๆของเบรกเกอร์ (สวิตช์อัตโนมัติ) หรือเครื่องตัดไฟรั่วจะต้องตรวจสอบสาเหตุทุกครั้งว่าเกิดจากอะไร
    เพื่อทำการแก้ไขก่อนที่จะมีการสับไฟใหม่ สาเหตุที่เป็นไปได้ คือ เครื่องใช้ไฟฟ้าชำรุด ไฟฟ้ารั่ว ไฟฟ้าลัดวงจร
    มีการใช้ไฟเกินกำลังขนาด
    ของสายไฟฟ้าหรือขนาดของเบรกเกอร์บางครั้งอาจเกิดจากไฟตกหรืออาจเกิดจากเบรกเกอร์ชำรุดเอง
    กรณีที่เครื่องตัดไฟรั่วที่มักจะทำงานเมื่อมีฟ้าผ่านั้นเป็นเหตุการณ์ปกติในกรณีที่มีคลื่นเหนี่ยวนำจากกระแสฟ้าผ่าเล็ดลอด
    เข้ามาในบ้านที่มีเครื่องตัดไฟรั่วที่ไวเกินไปหรือระบบสายไฟที่เก่าเกินไป
  10. หลักดินและตำแหน่งต่อลงดินภายในอาคารหลังเดียวกัน ควรมีอยู่แห่งเดียวคือบริเวณตู้เมนสวิตช์ทางด้านไฟเข้าเท่านั้น
  11. ควรแยกวงจรสำหรับระบบไฟฟ้าชั้นล่างของอาคารออกต่างหากและให้สามารถปลดวงจรออกได้โดยสะดวกในกรณีที่มีน้ำ
    ท่วมขัง
  12. อุปกรณ์ป้องกันกระแสเกินและลัดวงจร ที่ทำหน้าที่เป็นเมนสวิตช์ ควรมีจำนวนคู่ดังนี้

     

 

 



ระบบไฟที่ไม่มีสายดิน เบรกเกอร์ต้องเป็นชนิดที่ตัดพร้อมกันทั้ง 2 ขั้ว หากใช้ฟิวส์อาจใช้ขั้วเดียวได้แต่ต้องอยู่ในสายไฟที่มีไฟ
และต้องมีสะพานไฟหรือคัตเอาท์ 2 ขั้ว ที่สามารถปลดไฟพร้อมกันทั้ง 2 ขั้ว

ระบบไฟที่มีสายดิน เบรกเกอร์และฟิวส์สามารถใช้ชนิดที่ตัดขั้วเดียวในสายเส้นที่มีไฟได้ ยกเว้น กรณีห้องชุดของอาคารชุด

สวิตช์ปิด-เปิด

สวิตช์ปิด-เปิดในที่นี้ หมายถึง สวิตช์สำหรับปิด-เปิดหลอดไฟหรือโคมไฟสำหรับแสงสว่างหรือเครื่องใช้ไฟฟ้าชนิดอื่นๆ
ที่มีการติดตั้งสวิตช์เอง มีข้อแนะนำดังนี้

  1. เลือกใช้สินค้าที่มีมาตรฐาน มอก. หรือมาตรฐานสากลอื่นๆ ที่มีการรับรอง เช่น UL, VDE, KEMA, DIN เป็นต้น
  2. แรงดันไฟฟ้าและกระแสไฟฟ้าที่กำหนดของสวิตช์ต้องไม่ต่ำกว่าค่าที่ใช้งานจริง
  3. การเข้าสาย/ต่อสายต้องแน่น และมั่นคงแข็งแรง
  4. สปริงต้องแข็งแรง ตัดต่อวงจรได้ฉับไว
  5. ฝาครอบไม่ร้าวหรือแตกง่าย
  6. ถ้าใช้งานภายนอกต้องทนแดด ทนฝนได้ด้วย
  7. ถ้าสัมผัสที่สวิตช์แล้วรู้สึกว่าอุ่นหรือร้อนแสดงว่า มีการต่อสายไม่แน่นหรือสวิตช์เสื่อมคุณภาพ
  8. หลีกเหลี่ยงการติดตั้งสวิตช์ในที่ชื้นแฉะ และห้ามสัมผัส หรือใช้สวิตช์ในขณะที่ร่างกายเปียกชื้น
  9. ติดตั้งสวิตช์ตัดวงจรเฉพาะกับสายเส้นที่มีไฟ (ฉนวนสีดำ) เท่านั้น

เต้าเสียบและเต้ารับ

หลักในการเลือกซื้อเต้าเสียบและเต้ารับ

เต้าเสียบและเต้ารับที่ดีต้องปลอดภัย ควรมีลักษณะดังนี้ คือ
- มีการป้องกันนิ้วมือไม่ให้สัมผัสขาปลั๊กในขณะเสียบหรือถอดปลั๊ก เช่น การทำให้เต้ารับเป็นหลุมลึกหรือการหุ้มฉนวนทีโคนขาปลั๊ก
หรือทำเต้าเสียบ (ปลั๊ก) ให้มีขนาดใหญ่เมื่อมีการกุมมือจับเต้าเสียบแล้วไม่มีโอกาศจับขาปลั๊กส่วนที่มีไฟ
- มีการป้องกันเด็กใช้นิ้วหรือวัสดุแหย่รูเต้ารับ เช่น มีฝาครอบหรือบานพับเปิด-ปิดรูของเต้ารับ ซึ่งบานพับจะเปิดตอนใช้ปลั๊กเสียบเท่านั้น
- มีมาตรฐานสากลรับรอง ละผ่านการทดสอบตามมาตรฐานนั้นๆ เช่น UL, VDE, DIN, KEMA เป็นต้น
- ขนาดของกระแสและแรงดันไฟฟ้าสอดคล้องกับการใช้งานจริง เช่นทดลองเสียบปลั๊กแล้วดึงออก 5-10 ครั้ง
ถ้ายังคงฝืดและแน่นแสดงว่าใช้งานได้

อันตรายของการใช้ปลั๊กแบบคู่ขนาน (2-3 ขา)

- ปลั๊กขาแบนนั้นมาตรฐานทั่วโลกกำหนดให้ใช้ไฟไม่เกิน 125 โวลต์จึงไม่เหมาะกับประเทศไทยที่ใช้ระบบไฟ 220 โวลต์ และใช้แรงดันทดสอบที่สูงกว่า
- ปลั๊กขาแบนที่จับที่เล็ก มักเกิดอุบัติเหตุนิ้วมือสัมผัสขาปลั๊ก ซึ่งเป็นอุบัติเหตุส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย
- เต้าเสียบและเต้ารับไม่มีการป้องกันนิ้วมือสัมผัส ขาปลั๊กในขณะที่เสียบหรือถอดปลั๊ก ซึ่งอันตรายในขณะที่สัมผัสไฟ 220 โวลต์
จะรุนแรงกว่าสัมผัสแรงดัน 110 โวลต์เกือบเท่าตัว
- เต้ารับสำหรับปลั๊กขาแบนเมื่อใช้เต้ารับมาใช้กับเต้าเสียบ 220 โวลต์ที่เป็นขากลมจำเป็นต้องดัดแปลงให้เต้ารับเสียบขากลมได้ด้วย
ทำให้รูของเต้ารับกว้างขึ้น เนื่องจากระยะห่างของขาทั้ง 2 ชนิดไม่เท่ากัน มักจะมีปัญหาไม่ปลอดภัยเสียบไม่แน่นและ
อาจเกิดอัคคีภัยได้ง่าย
 

 

 

ข้อแนะนำหากจะต่อปลั๊กที่เครื่องใช้ไฟฟ้าประเภท 1 ให้มีสายดินด้วยตัวเอง

- ก่อนอื่นจะต้องตรวจสอบก่อนว่า ตัวถังโลหะต้องไม่ต่อกับสายศูนย์ของเครื่องใช้ไฟฟ้า มิฉะนั้นจะทำไม่ได้
ยกเว้นจะปลดให้แยกจากกันและมีระดับฉนวนที่ทดสอบแล้วว่าเพียงพอ

- สำหรับเครื่องไฟฟ้าที่มีสายดินมาจากผู้ผลิต ไม่ปลอดภัยที่จะทำเองควรปรึกษาผู้ผลิต หรือช่างที่ชำนาญที่มีเครื่องมือทดสอบเป็นการเฉพาะ
เช่นเครื่องมือทดสอบฉนวนของสายไฟและเส้นศูนย์เมื่อเทียบกับตัวถังโลหะ (เส้นศูนย์ห้ามต่อกับสายดินที่เครื่องใช้ไฟฟ้า)
ทดสอบความต่อเนื่องและคงทนของการต่อสายดินที่เครื่องใช้ไฟฟ้าเมื่อมีกระแสไฟฟ้าลัดวงจรไหลในสายดิน เป็นต้น

ข้อแนะนำการติดตั้งและใช้งานเต้าเสียบเต้ารับ (เพิ่มเติม)

- ตำแหน่งของการติดตั้งเต้ารับควรอยู่สูงให้พ้นมือเด็กหรือระดับน้ำที่อาจท่วมถึง
- เวลาถอดปลั๊กให้ใช้มือจับที่ตัวปลั๊ก อย่าดึงที่สายไฟ และอย่าใช้มือแตะถูกขาปลั๊ก
- ให้หลีกเลี่ยงและระมัดระวังการใช้เต้ารับที่เสียบปลั๊กได้หลายตัวเพราะอาจทำให้มีการใช้ไฟฟ้าเกินขนาดของเต้ารับ
และสายไฟฟ้าทำให้เกิดไฟไหม้ได้
- ก่อนซื้อเต้ารับควรตรวจสอบโดยการใช้ปลั๊ก (ตัวผู้) ขากลมเสียบเข้าและดึงออกหลายๆครั้ง เต้ารับที่มีคุณภาพดีจะแน่นและดึงออกยาก
- หมั่นตรวจสอบจุดเชื่อมต่อการเข้าสายให้แน่นอยู่เสมอ
- เต้ารับที่ใช้งานภายนอกอาคารควรทนแดด ป้องกันน้ำฝนได้ และหากเป็นสายไฟ/เต้ารับที่ลากไปใช้งานไกลๆ
ต้องผ่านวงจรของเครื่องตัดไฟรั่วด้วย
- ตลับต่อสายที่ประกอบไปด้วยสายพร้อมปลั๊กและมีเต้ารับหลายตัว พร้อมทั้งมีลักษณะของ มอก. เลขที่ 11-2531 นั้น
มิได้หมายความว่าเต้ารับได้มาตรฐาน เนื่องจากมาตรฐาน มอก.11 เป็นมาตรฐานเฉพาะสายไฟเท่านั้น มิใช้มาตรฐานของ
เต้ารับแต่อย่างใด สำหรับขนาดของสายไฟที่ใช้นี้ต้องไม่ต่ำกว่า 10 ตร.มม
- ไม่ควรซื้อตลับสายไฟที่ใช้เต้ารับ 3 รู แต่ใช้สายไฟ 2 สายและเต้าเสียบที่ไม่มีสายดินเพราะไม่มีประโยชน์ใดๆ ด้านความปลอดภัยเนื่องจากไม่มีสายดิน
 

 

บ้านมือสอง คอนโด condo บ้านจัดสรร คอนโดมิเนียม บ้านเดี่ยว บ้านเช่า ที่ดิน
วันที่ : 24 มกราคม 2555
จำนวนผู้อ่าน : 4041 ครั้ง
เรื่องอื่นๆที่น่าสนใจ
ซื้อคอนโดมือสองก็ต้องละเอียด (ดู 10712 ครั้ง)
การจัดเก็บค่าส่วนกลางยังเป็นปัญหาเรื้อรัง (ดู 9493 ครั้ง)
ขั้นตอนจดทะเบียนนิติบุคคล (ดู 10522 ครั้ง)
ประกันภัยบ้านต้องทำอะไรบ้าง (ดู 10120 ครั้ง)
คอนโดริมน้ำกำลังเป็นที่นิยม (ดู 9789 ครั้ง)
ใครดีใครร้ายในปีมะเส็ง 56 (ดู 9898 ครั้ง)
ฮวงจุ้ย ทิศหัวเตียงหรือหัวนอน (ดู 12703 ครั้ง)
ข้อดีของการซื้อบ้านจัดสรร (ดู 11529 ครั้ง)
จะซื้อบ้านจัดสรรฟังทางนี้ (ดู 4436 ครั้ง)
เมื่อนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรถึงทางตัน (ดู 4496 ครั้ง)
บ้านไม้สไตล์พรีแฟบ (ดู 5200 ครั้ง)
เลือกบ้านสำเร็จรูปแบบไหนดี (ดู 4586 ครั้ง)
นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร (ดู 4729 ครั้ง)
รู้ทันก่อนซื้อประกันภัยบ้าน (ดู 4370 ครั้ง)
จัดตั้งนิติบุคคลฯแล้วจะเป็นอย่างไร (ดู 4067 ครั้ง)
ตรวจสอบเบื้องต้นง่ายๆ หลังแผ่นดินไหว (ดู 3786 ครั้ง)
กฏหมายว่าด้วยรั้วบ้าน (ดู 4834 ครั้ง)
ขั้นตอนจัดตั้งนิติบุคคล บ้านจัดสรร (ดู 5007 ครั้ง)
เตรียมเสนอขยายสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ (ดู 3856 ครั้ง)
เทรนด์ การซื้อขายบ้านมือสอง (ดู 4219 ครั้ง)
หน้าที่ของผู้ซื้อฯกับนิติบุคคลฯ (ดู 4510 ครั้ง)
สิทธิของเจ้าของห้องชุด (ดู 4410 ครั้ง)
บทบาทเจ้าของร่วมอาคารชุด (ดู 4035 ครั้ง)
ทำไมต้องจ่ายค่าส่วนกลาง (ดู 4712 ครั้ง)
ห้องไม่เรียบร้อย อย่ารับโอน (ดู 4697 ครั้ง)

Google
 
ขายบ้าน, คอนโด มือสอง, บริษัทนายหน้า, โบรกเกอร์, รับฝากขายบ้าน, ขายบ้าน, realtor, agency, บริษัท ขายบ้าน, ตัวแทน นายหน้า, รับฝากขาย, ซื้อขายบ้าน, ฝากขายบ้าน นายหน้า ขายบ้าน, บ.นายหน้า ขายบ้าน, โบรกเกอร์, ซื้อขายบ้าน, รับฝากขายบ้าน, ตัวแทนนายหน้า, โบรกเกอร์บ้าน, นายหน้าบ้าน, ตัวแทนบ้าน ขายบ้าน ตกแต่งบ้าน ฟอร์นิเจอร์ ออกแบบ บ้าน ซื้อขาย บ้าน, รับออกแบบ บ้าน, รวมแบบบ้านแบบ บ้าน, ตกแต่งภายใน บ้าน, interior design ออกแบบ บ้าน, interior รับออกแบบ บ้าน, Architecture รับออกแบบ บ้าน, ตกแต่งบ้าน, ตกแต่งภายใน, Mudahouse, ตกแต่งภายใน, รับเหมา ก่อสร้างบ้าน, บริษัท ก่อสร้าง
ติดต่อลงโฆษณา : ududee@msn.com
โทรศัพท์: 08-9180-5710
Copyright ©2005-2012 Hometophit All rights reserved